การจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
การจัดการ, หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล, การเผยแผ่พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา วิเคราะห์องค์ประกอบและนำเสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง และจากผู้มีส่วนร่วมในการการจัดสนทนากลุ่มเฉพาะกจำนวน 14 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. ประธานหน่วยและคณะกรรมการของหน่วยบางแห่งอยู่คนละพื้นที่คณะกรรมการขาดความรู้ความเข้าใจในการฝึกอบรม ไม่มีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจน 2. องค์ประกอบการจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลมี 5 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านการสงเคราะห์และอนุเคราะห์ประชาชนในท้องถิ่น
2) ด้านการเป็นศูนย์กลางประสานงานระหว่างวัด บ้าน และหน่วยงาน 3) ด้านการเป็นศูนย์รวมความคิดของประชาชนทุกหมู่เหล่า 4) ด้านการเป็นศูนย์รวมพลังในการป้องกันหมู่บ้านให้เกิดสันติสุข และ 5) ด้านการเป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสาร 3. แนวทางการพัฒนา คือ มีการวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบและการปรับปรุงแก้ไขในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน
References
กรมการปกครอง. (2561). ข้อมูลการปกครองส่วนภูมิภาคประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559. สืบค้น 20 มีนาคม 2561, จาก http://www.zcooby.com/2559-thailand-information-number-statistics
กรมการศาสนา. (2545). แถลงการณ์คณะสงฆ์ ฉบับที่ 1/2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
_______. (2544). วัดพัฒนา 44. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
กริชพัฒน์ ภูวนา. รูปแบบการพัฒนาชุมชนอยู่ดีมีสุข กรณีศึกษา : บ้านดอนมัน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
คูณ โทขันธ์ และเทพพร มังธานี. (2546). รูปแบบการจัดการศึกษาและเผยแผ่ศาสนธรรมของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษา วัดมหาพุทธาราม อําเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.
บุญทัน ดอกไธสง. (2562). กลไกการขับเคลื่อนศักยภาพขีดความสามารถของผู้สูงอายุโดยบูรณาการหลักพุทธธรรม. วารสารสหวิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา. 8(1), 26-32.
ประทุม อังกูรโรหิต. (2553). สถาบันทางพระพุทธศาสนากับงานสังคมสงเคราะห์ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระครูอาทรวชิรกิจ (มานะ ฐานิสฺสโร). (2561). การจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดกำแพงเพชร (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดวรัญญู อคฺควชิโร (ยอดเพ็ชร). (2557). การพัฒนาการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนในยุคโลกาภิวัตน์ (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหากฤษฎา กิตติโสภโณ. (2561). ผู้สูงอายุต้นแบบตามแนวพุทธ: กรณีศึกษาหลวงพ่อวัดบางเบิด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 1(2), 1-15.
พระสมุห์สมชาย สิริสมฺปนฺโน. (2563). การปลูกฝังศรัทธาในพระพุทธศาสนาแก่เยาวชนของคณะสงฆ์จังหวัดสระบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1), 212-221.
พรั่ง เจนนธี. (2546). คู่มือการปฏิบัติงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
วิทยา จันทร์แดง. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุญาดา สุนทรศารทูล. (2552). รูปแบบความร่วมมือของบ้าน วัด โรงเรียนและชุมชน ในการสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมแก่เด็กและเยาวชนในเขตปริมณฑลกรุงเทพฯ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Deming, E. W. (1995). The Massachusetts Institute Technology Center for Advanced Engineering Study. New York: McGraw-Hill. Out of The Crisis.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น