กลยุทธ์การท่องเที่ยวและลักษณะทางกายภาพที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ มาท่องเที่ยววัดหน้าพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระปลัดโอภาส โอภาโส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • เสนีย์ พวงยาณี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การท่องเที่ยว, ลักษณะทางกายภาพ, การตัดสินใจมาท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การท่องเที่ยวและลักษณะทางกายภาพที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยววัดหน้าพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.882 เก็บข้อมูลจากประชาชนที่มาท่องเที่ยววัดหน้าพระเมรุราชิการาม จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอย ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อกลยุทธ์การท่องเที่ยว ลักษณะทางกายภาพ และการตัดสินใจมาท่องเที่ยววัดหน้าพระเมรุราชิการาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การท่องเที่ยวส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยววัดหน้าพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (b = 0.12, p < 0.01) และลักษณะทางกายภาพส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยววัดหน้าพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (b= 0.35, p < 0.01)

References

กรมศิลปากร. (2561). ประวัติวัดหน้าพระเมรุราชิการาม. สืบค้น 2 สิงหาคม 2561, จาก http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historicalpark

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2558). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชนลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. ลำปาง: วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง.

พยอม ธรรมบุตร. (2549). เอกสารประกอบการเรียนการสอนหลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระปลัดโอภาส โอภาโส. (2562). กลยุทธ์การท่องเที่ยวและลักษณะทางกายภาพที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยววัดหน้าพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

รสิกา อังกูร. (2554). ความพร้อมของวัดในเขตกรุงเทพฯเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยผ่านการนำชมศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

ฤดี หลิมไพโรจน์. (2554). อิทธิพลของภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อความตั้งใจกลับมาเที่ยวซํ้าที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วัฒน์จิรชัย เวชชนินนาท. (2559). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 4(3), 375-387.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว. (2560). แนวทางบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว.

Pike, S. (2008). S.D. Destination Marketing: ANI Integrated Marketing Communication Approach. Butterworth-Heinemann: Burlington.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-16

How to Cite

โอภาโส พ., พวงยาณี เ., & เจริญกิจธนลาภ ท. (2020). กลยุทธ์การท่องเที่ยวและลักษณะทางกายภาพที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ มาท่องเที่ยววัดหน้าพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 11–22. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/237586