การศึกษาแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูอนุกูลสุตกิจ (สุเทพ สุเทโว) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ธิลาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, นักเรียน, พระปริยัติธรรมแผนกบาลี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดชลบุรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดชลบุรี 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการศึกษาแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดชลบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธีโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักและสนับสนุนด้วยการวิจัยเชิงปริมาณตามลำดับ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูป/คน ได้แก่ พระสังฆาธิการ โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) และสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 13 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.907 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสงฆ์ จำนวน 370 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ (Frequency)  ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของสภาพทั่วไปในการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีด้วยการวิเคราะห์ SWOT Analysis ด้านจุดแข็ง ปัจจุบันมีสำนักเรียนที่มีความพร้อมทั้งในด้านนักเรียนครูผู้สอนสถานที่พักตลอดจนทุกอุดหนุน สร้างมหาเปรียญปีละหลายสิบรูป ด้านจุดอ่อน ขาดนักเรียน และครูที่มีความชำนาญหลายสำนักเรียนที่เคยมีชื่อเสียงต้องปิดตัวลงเพราะขาดบุคลากรและนักเรียนรวมถึงการขาดการสนับสนุน ด้านโอกาส เจ้าสำนักที่มีกำลังความสามารถโดยเฉพาะด้านการเงิน/คน/มีการจัดการที่ดี ทำให้การเรียนการสอนยังมีอยู่ถ้ามีการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนสำนักเรียนที่ปิดตัวลงก็อาจจะกลับฟื้นตัวขึ้นมาได้ ด้านอุปสรรค ขาดบุคลากร คือ นักเรียน ขาดทุนสนับสนุน ซึ่งทั้งสองส่วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำเคลื่อนการศึกษาในส่วนนี้ ความคิดเห็นต่อการศึกษาแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 3.95) และตามหลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.05) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ใช้หลักวงจร PDCA มีการวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ต้องคำนึงถึงว่าสำนักเรียนแต่ละสำนักมีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกัน มีการประชุมวางร่วมกันทุกสำนักเรียนในจังหวัดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตั้งกองทุนการศึกษาสนับสนุนในด้านปัจจัยที่แน่นอนชัดเจน  เจ้าสำนักจะต้องให้ความสำคัญปฏิบัติงานร่วมกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในทุกกระบวนการ ตรวจสอบการปฏิบัติงานหาเมื่อเกิดข้อบกพร่องต้องรีบแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาให้การทำงานขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. นำเสนอแนวทางการศึกษาแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดชลบุรี แนวทางการสร้างแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ใน 4 ด้าน 1) ความตั้งใจ   2) ความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง 3) ความตั้งใจ 4) ความพึงพอใจ และเชื่อมโยงไปยังปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ตามวงจร PDCA ร่วมกัน 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ  3) การตรวจสอบ 4) การปรับปรุงแก้ไข เชื่อมโยงกับหลักพุทธธรรมอิทธิบาท 4 ร่วมกัน 1) ฉันทะ  2) วิริยะ 3) จิตตะ 4) วิมังสา ที่นำมาใช้ในการสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียนโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการมองเห็นประโยชน์ของการศึกษาร่วมกันช่วยเหลือเกื้อกูลสนับสนุนปัจจัยในทุกด้าน สร้างความเชื่อมั่นว่าการศึกษาไม่ว่ารูปแบบใดก็ตามจะสามารถพัฒนาชีวิตของตนให้ดีขึ้นได้

References

Banchayuth Nakmoodjalin. (2013). A form of development of Satisfied Religious heirs in Buddhism (Doctor of Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Chatchai Thamkhonburi. (2013). Human Resource Development in Accordance With The Buddhist Guidelines of The Royal Award Winning Schools (Doctor of Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Education fund National Buddhism Office. (2010). Award Ceremony for Outstanding Buddhist Scriptures, Academic Year 2009. Bangkok: National Buddhism Publishing House.

Kasetchai Laeheem. (2007, Jul. - Sep). Predicting Factors for Academic Achievement of Islamic Privates School Students’ in the Three Southern Border Provinces of Thailand. Songklanakarin J. of Social Science & Humanities, 13(3): 435-453.

Phra Maha Amnat Pawatthano. (Phanpanya). (2014). The Development of The Educational Management Model of The Buddhist Scriptures (Doctor of thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phramaha Arnon Cayanando (Legdee). (2015). Administration of Phrapariyattidhamma School, Pali Division: Problems, Trends and Development Strategies (Doctor of Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Pitchayapa Yuenyaw. (2009). The Model of Human Resource Management in Higher Education Institutes (Doctor of Thesis). Graduate School: Silpakorn Univetsity.

The Secretariat of the Council of Education (2010). National Education Department, Revised 2009 - 2016: Summary. Bangkok: Prik Wanwan Graphic Company Limited.

Thanoo Srithong and others. (2006). A Study of the Atmosphere and Contents of Learning and Teaching of Phrapariyattidhamma School of Dhamma Curriculum in the Eleventh Regional Sangha’s Administration (Research Report). Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Surin Campus.

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27