ความรับผิดของผู้ค้ำประกันภายใต้กฎหมายค้ำประกันฉบับปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • จาตุรนต์ บุณยธนะ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ผู้ค้ำประกัน, สัญญาค้ำประกัน, ลูกหนี้, เจ้าหนี้

บทคัดย่อ

การกู้ยืมเงินกันนั้น เจ้าหนี้มักจะเรียกร้องให้ลูกหนี้นำหลักประกันมาประกันแก่เจ้าหนี้เมื่อปรากฏเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเจ้าหนี้อาจจะไม่ได้รับชำระหนี้ หลักประกันที่ลูกหนี้มักจะนำมาประกันแก่เจ้าหนี้ ได้แก่ หลักประกันด้วยบุคคลตามสัญญาค้ำประกัน หรือหลักประกันด้วยทรัพย์สิน ตามสัญญาจำนำหรือสัญญาจำนองแล้วแต่กรณี เพื่อเจ้าหนี้จะได้บังคับชำระหนี้จากหลักประกันดังกล่าว ภายใต้กฎหมายค้ำประกัน (เดิม) เจ้าหนี้สามารถกําหนดข้อตกลงต่างๆ ในสัญญาค้ำประกันได้หลากหลายประการ เช่น ข้อตกลงให้ผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกับลูกหนี้ เป็นต้น และข้อตกลงดังกล่าวส่งผลให้ผู้ค้ำประกันตกเป็นลูกหนี้ชั้นต้นและรับภาระเทียบเท่าหรือในบางกรณีหนักกว่าลูกหนี้ที่ตนได้ค้ำประกันไว้ ในขณะที่ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ ตอบแทนจากการค้ำประกันดังกล่าวเลย อาจกล่าวได้ว่า กฎหมายค้ำประกัน (เดิม) เป็นกฎหมายที่ล้าสมัยและไม่เป็นธรรมต่อผู้ค้ำประกัน ภาครัฐโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ทำการแก้ไขปรับปรุงและได้ออกพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่20) ในปี พ.ศ.2557 และ (ฉบับที่21) ในปี พ.ศ.2558 เพื่อปรับปรุงแก้ไขขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ค้ำประกันมากยิ่งขึ้น โดยบทความนี้ผู้เขียนมุ่งวิเคราะห์ถึงขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันภายใต้กฎหมายค้ำประกันที่ได้แก้ไขใหม่นั้นเป็นประโยชน์และได้สร้างความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันมากยิ่งขึ้น

References

ปัญญา ถนอมรอด. (2562). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ปิติกุล จีระมงคลพาณิชย์. (2558). กฎหมายลักษณะค้ำประกัน จำนอง จำนำ. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

สุดา วิศรุตพิชญ์. (2558). คำอธิบายประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภาภรณ์ พิทักษ์เผ่าสกุล. (2560). คำอธิบายค้ำประกัน จำนอง จำนำ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-21

How to Cite

บุณยธนะ จ. (2020). ความรับผิดของผู้ค้ำประกันภายใต้กฎหมายค้ำประกันฉบับปัจจุบัน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 296–303. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/216655