การส่งเสริมศักยภาพการสอนธรรมและการนำปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรม ในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (ศาลายา)

ผู้แต่ง

  • พระเมธาวินัยรส (สุเทพ พุทธจรรยา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมศักดิ์ บุญปู่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุทธิพงศ์ ศรีวิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การส่งเสริมศักยภาพ, การสอนธรรม, การนำปฏิบัติธรรม, พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการสอนธรรมและการนำปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพการสอนธรรมและการนำปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมศักยภาพการสอนธรรมและการนำปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaires เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง จำนวน 257 รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์จำนวน 10 รูป/คน โดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

            ผลการวิจัยพบว่า

            1)  ศักยภาพการสอนธรรมและการนำปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้านพบว่า ด้านการนำปฏิบัติธรรมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านการใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์  ด้านเนื้อหาหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน และด้านการวัดผลและการประเมินผล ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ

            2) ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพการสอนธรรมและการนำปฏิบัติธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุดดังนี้ ความถนัดและความพึงพอใจในงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมาคือ ด้านความเอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา  และด้านความพึงพอใจในงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพิจารณาความดีความชอบและสวัสดิการ ซึ่งมีค่าแปลผลอยู่ในระดับมากตามลำดับ     

            3) ผลการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของปัจจัยกับศักยภาพการสอนธรรมและการนำปฏิบัติธรรม พบว่า  ปัจจัยทางด้านสถานภาพและการยอมรับนับถือ มีความสัมพันธ์กับศักยภาพการสอนธรรมและการนำปฏิบัติธรรม ในระดับต่ำเป็นอันดับแรก (r=0.35) รองลงมาคือความเอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำเช่นกัน  (r=0.29)  ส่วนปัจจัยทางด้านความถนัดและความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำมาก (r=0.19) เช่นเดียวกับปัจจัยทางด้านการพิจารณาความดีความชอบและสวัสดิการ  (r=0.16) 

            4)  แนวทางการส่งเสริมศักยภาพการสอนธรรมและการนำปฏิบัติธรรม พบว่า พระสอนศีลธรรมควรมีการคัดเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมในแต่ละระดับชั้นมาสอนนักเรียน มีการบูรณาการหลักสูตรให้กระชับ ไม่เน้นเนื้อหา แต่สอนนักเรียนโดยมุ่งเน้นการนำไปปฏิบัติ จัดอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแก่พระสอนศีลธรรม  ร่วมมือกันผลิตสื่อและวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน    สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างและการใช้เครื่องมือวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ จัดทำแผนยุทธศาสตร์และนโยบายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความเลื่อมใสศรัทธาแก่ครูและนักเรียน  รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำของพระสอนศีลธรรมให้เป็นต้นแบบในการนำปฏิบัติธรรม

References

Academic Department of Ministry of Education. (2002). The Curriculums of Basic , Education, B.E. 2544. Edition 3. Bangkok : Printing of the council of Teachers.
Boonlert Punsuntie. (1994). Condition of the Instruction Process of General Education, in Nakhon Ratchasima Province. Dissertation Graduate School : Srinakarintara-, wirot University.
Davis, Keith. (1967). Human Relation at work. New Yoke : McGraw-Hill.
Phra Dhammakosajarn (Prayoon Dhammacitto). (2009). The Problem of the School Morality , Teaching Teachers. Thai Rat News. 17 September 2009.
Phramaha Sayan Nammuaeng. (1995). The Role of Monks on Teaching Buddhism : A Case , Study of The Primary Schools in Bangkok. Dissertation Graduate School : Mahachulalongkornrajavidyalaya. University.
Phramanit Jotidhammo (Accachart). (2009). A Study of Problems and Solutions for the , Performance of the School Morality Teaching Monk in Si Sa Kat (Doctor of thesis) Graduate School : Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
School Morality Teaching Monk Project. (2006). Strategic Plan of School Morality Teaching , Monk Project. Nakhon Prathom : Mahamakut Buddhist
Samit Satchukorn. (1994). Developing Organization to be the Learning Organization”. Quality Journal. Year 2 Vol. 12 (November-December).
The Office of National Buddhism. (2010). The Performance of the School Morality, Teaching Monks (Research Report). Nakhon Prathom : Printing of Religion Affairs Department.
Varakorn Samkoses. Environmental Factors of World before Going into the First
, Millennium in the 3rd Century. Matichon News Paper. 25 November 2009.
Yoder, Dale. (1953). Personnel Principles and Policies. New Jersey : Prentice-Hall.

เผยแพร่แล้ว

2019-09-30

How to Cite

(สุเทพ พุทธจรรยา) พ., บุญปู่ ส. ., & ศรีวิชัย ส. . (2019). การส่งเสริมศักยภาพการสอนธรรมและการนำปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรม ในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (ศาลายา). วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(3), 28–43. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/214043