ประสิทธิผลการก่อสร้างเสนาสนะภายในวัดของพระสังฆาธิการ ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล การก่อสร้างเสนาสนะบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการก่อสร้างเสนาสนะภายในวัดของพระสังฆาธิการในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่ต่อประสิทธิผลการก่อสร้างเสนาสนะภายในวัดของพระสังฆาธิการในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อประสิทธิผลการก่อสร้างเสนาสนะภายในวัดของพระสังฆาธิการในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed - Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากพระสังฆาธิการในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ได้จำนวน 277 รูป จากประชาชนทั้งหมด 900 รูป โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับอยู่ที่ 0.759 เป็นคำถามแบบปลายเปิดและปลายปิด โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-Test) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประชาชนกลุ่มตัวอย่าง ที่มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการก่อสร้างเสนาสนะภายในวัดของพระสังฆาธิการในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
( = 4.12) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อประสิทธิผลการก่อสร้างเสนาสนะภายในวัดของพระสังฆาธิการในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านบริหารทั่วไป ด้านการบริหารวัสดุอุปกรณ์ ตามลำดับ
2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อประสิทธิผลการก่อสร้างเสนาสนะภายในวัดของพระสังฆาธิการในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า ด้านอายุ ด้านวุฒิการศึกษานักธรรม ด้านวุฒิการศึกษาเปรียญธรรม ด้านวุฒิการศึกษาสามัญ ด้านตำแหน่งพระสังฆาธิการ พบว่า พระสงฆ์ ที่มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการก่อสร้างเสนาสนะภายในวัดของพระสังฆาธิการในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนด้านพรรษา พบว่า พระสงฆ์ ที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการก่อสร้างเสนาสนะภายในวัดของพระสังฆาธิการในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
3) ปัญหา อุปสรรค ประสิทธิผลการก่อสร้างเสนาสนะภายในวัดของพระสังฆาธิการ
ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี พบว่า 1) พระสังฆาธิการขาดการวางแผนพัฒนาวัดให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนางานก่อสร้างอื่นๆ ภายในวัด 2) พระสังฆาธิการขาดการจัดทำบัญชีการก่อสร้างเสนาสนะ 3) พระสังฆาธิการขาดการจัดการระบบสาธารณูปโภคภายในวัด 4) พระสังฆาธิการขาดการจัดทำบัญชีพัสดุ ครุภัณฑ์ ไว้เป็นหมวดหมู่ ข้อเสนอแนะ พบว่า 1) พระสังฆาธิการควรมีการวางแผนพัฒนาวัดให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนางานก่อสร้างอื่นๆ ภายในวัด 2) พระสังฆาธิการควรมีการจัดทำบัญชีการก่อสร้างเสนาสนะ 3) พระสังฆาธิการควรมีการจัดการระบบสาธารณูปโภคภายในวัด 4) พระสังฆาธิการควรมีการจัดทำบัญชีพัสดุ ครุภัณฑ์ ไว้เป็นหมวดหมู่
References
Panha Saman. (2009). Study of Administrative Administration in Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Wang Noi District Phra Nakhon Si Ayutthaya Province (Master of Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phra Athikanwarit Ratanapanyo (Phan Sawat), (2016). The Role of Propagating Buddhism of Monks in Pak Tho District Ratchaburi Province (Master of Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phra Athikanmanat Panyawatthano (Ngoe Sawat), 2012). Efficiency of The Administration of The Sangha Affairs in Propagation of The Sangha Administrators in Chom Bueng District Ratchaburi Province. (Master of Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phra Maha Anusak Chan thralak (2008). Problems and Guidelines for Solving The Problems of Temple Management of The Abbot in Maha Sarakham Province (Master of Thesis). Mahasarakrm University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น