การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ผู้แต่ง

  • ดลนพร วราโพธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • รัฐพล เย็นใจมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นัยนา เกิดวิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการ, ทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยสงฆ์, ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ได้แก่ 1.เพื่อศึกษาสภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2.เพื่อศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ 3.เพื่อนำเสนอการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยใช้แบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลสองขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่งจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 18 รูปและคน เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือเก็บข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว และขั้นตอนที่สอง เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนร่วมในการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปและคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 331 รูปและคน วิเคราะห์ข้อมูลตามความคิดเห็นของผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีการจัดการตามนโยบายที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด จึงทำให้ทราบ 1) จุดแข็ง คือ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีวิถีและวัฒนธรรมเชิงพุทธ รับนิสิตต่างประเทศเข้ามาศึกษาเล่าเรียน ทุกระดับการศึกษา ถึงขนาดมีการจัดหลักสูตรอาเซียนศึกษา หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อประชาคมอาเซียน ยังมีหลักสูตรที่เป็นอัตลักษณ์ทางด้านคุณธรรมจริยธรรม มีวิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนอีกด้วย 2) จุดอ่อน คือ การที่ไม่เตรียมบุคลากรไว้ล่วงหน้าทางด้านภาษา ต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา ในอนาคตจะต้องมีบุคลากรที่ชำนาญด้านภาษา บุคลากรมีความพร้อมเข้าสู่อาเซียนยังน้อย ไม่มีแผนงานของมหาวิทยาลัยในการเข้าสู่อาเซียน ยังไม่มีหลักสูตรที่รองรับ อาจารย์ประจำหลักสูตรไม่เพียงพอตามหลักสูตรที่เปิดสอนสัดส่วนและวิทยฐานะของอาจารย์ประจำยังไม่เพียงพอ 3) โอกาส คือ มีทุนจากต่างประเทศที่ติดต่อให้ส่งบุคลากรไปเรียนทางด้านภาษา และมีการประสานงานที่ดีต่อกัน การได้รับการสนับสนุนจากองค์กรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น 4) อุปสรรค คือ มีการแข่งขันและพัฒนาบุคลากรเพื่อแย่งชิงบุคลากรจากมหาวิทยาลัยอื่น ขาดการประสานงานที่ดีกับหน่วยงานในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่น ๆ การเข้าเรียนของบุคลากรทางการศึกษา พระสงฆ์มีน้อยลงเรื่อยๆ ขาดนโยบายในระดับสูงที่จะพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
2.การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านการสรรหาทรัพยากรมนุษย์ คือ การสัมภาษณ์พนักงานต่อไปเน้นไปที่การตั้งคำถามจากขีดความสามารถที่ต้องการของตำแหน่งงานมากกว่าเพื่อหาคนให้มีความเหมาะสมกับองค์กร และเหมาะสมกับลักษณะงาน 2) ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ คือ มหาวิทยาลัยจะต้องวางแผนในการพัฒนาคน ส่งเสริมให้บุคลากรมีคุณภาพ ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ให้มีศักยภาพ สร้างคนของมหาวิทยาลัยออกไปรับใช้อาเซียน 3) ด้านการรักษาทรัพยากรมนุษย์ คือ ความเหมาะสมกับงานและทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การควบคุมด้านคุณภาพงานในแต่ละด้านของโครงการ ควบคุมด้านเวลาในการดำเนิน โครงการให้สามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ในการใช้และก่อให้เกิดประโยชน์ การควบคุมดูแลให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีและมีประสิทธิภาพได้ตามแผนงานที่วางไว้ 4) ด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรมนุษย์ คือ การใช้ประโยชน์ทรัพยากรมนุษย์เป็นไปตามระบบ จะมีหน่วยงานมีการพัฒนา มีการปรับเปลี่ยนเป็นวาระการทำงาน เลือกสรรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีการปรับเปลี่ยนเป็นวาระการทำงาน เลือกสรรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถของมหาวิทยาลัยสงฆ์ 3.รูปแบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คือ 1) ด้านการสรรหาทรัพยากรมนุษย์ หลักความสามารถ, หลักความมั่นคง, หลักความเสมอ และหลักความเป็นกลาง 2) ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ผู้มีหน้าที่วางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ต้องทำการเก็บข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ วางแนวทางปฏิบัติตรวจสอบ ปรับปรุง, การคาดการณ์ในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีการคาดการณ์ไปในอนาคตถึงความต้องการด้านบุคลากรขององค์การว่ามีแนวโน้มหรือทิศทางที่จะออกมาในลักษณะใด, วิธีปฏิบัติในการวางแผนทรัพยากร, องค์การและบุคลากรในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ 3) ด้านการรักษาทรัพยากรมนุษย์ หลักแห่งผลประโยชน์, หลักแห่งการจูงใจ, หลักแห่งการต้องการ ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดี, หลักแห่งการสร้างขวัญกำลังใจ 4) ด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรมนุษย์ ระบบของมหาวิทยาลัย การใช้ประโยชน์ทรัพยากรมนุษย์เป็นไปตามระบบ, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, การเพิ่มทักษะและศักยภาพด้านภาษา, การจัดโครงสร้างในการบริหารจัดการ 

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30

How to Cite

วราโพธิ์ ด., เย็นใจมา ร., เกิดวิชัย น., & ดอกไธสง บ. . (2019). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 223–239. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/182385