รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการสภาพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดมหาเถรานุวัตร (ศรัณภิรมย์ กิตฺติธโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนาการบริหาร,สภาพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการบริหารจัดการ สภาพระนักเผยแผ่ จังหวัดเพชรบุรี  2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการบริหารจัดการสภาพระนักเผยแผ่ จังหวัดเพชรบุรี และ  3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการสภาพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี

การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน  18  รูป/คนและสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus croup Discussion) จำนวน 12 ท่าน โดยวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา  และการวิจัยเชิงปริมาณได้แจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสังฆาธิการและพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี จำนวน  350  รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพทั่วไปเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการสภาพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมคือ 1) ด้านบุคลากร  สภาพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี  มีพระสงฆ์ที่ความรู้ความสามารถในการทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก วัดและพระในจังหวัดเพชรบุรีมีเพียงพอกับพุทธศาสนิกชนที่ต้องการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ พุทธศาสนิกชนมีความศรัทธาเลื่อมใส และให้การสนับสนุนพระสงฆ์ที่ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2)  ด้านงบประมาณ  พระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี ร่วมกันบริจาคให้การสนับสนุน ด้วยการทอดผ้าป่าบ้าง บริจาคเป็นการส่วนตัวบ้าง เชิญชวนและทำการประชาสัมพันธ์ให้พุทธศาสนิกชนและคณะสงฆ์ คณะอื่นร่วมบริจาคสมทบทุนด้วย   3)  ด้านวัสดุอุปกรณ์  พระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี มีสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเพชรบุรี มีหอกระจายข่าวตามหมู่บ้านต่าง ๆ และมีสถานีวิทยุชุมชนเป็นอุปกรณ์การทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีศิลปะปูนปั้นตามวัดต่าง ๆ ในเขตจังหวัดเพชรบุรี 4)  ด้านการบริหารจัดการ พระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรีสามารถรวมตัวกันจัดตั้งสภาพระนักเผยแผ่ประจำจังหวัดเพชรบุรีได้โดยการร่วมพระนักเทศน์ต้นแบบ พระนักเทศน์ประจำจังหวัด พระจริยานิเทศ,
    พระปริยัตินิเทศ,พระธรรมทูต, พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน พระครูสอนพระปริยัติธรรม
    พระวิปัสสนาจารย์ไว้ด้วยกัน
  2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการบริหารจัดการสภาพระ นักเผยแผ่ จังหวัดเพชรบุรี พบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) แล้วพบว่ามีค่า 0.946 ซึ่งแสดงว่า ปัจจัยที่ส่งผล คือ หลักการเทศนาวิธี 4 หน้าที่ของสภาพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี มีความสัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์กันในระดับมากและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) แล้วพบว่ามีค่า 0.953 ซึ่งแสดงว่า ปัจจัยที่ส่งผล คือ หลักการบริหารจัดการ 4 M กับหน้าที่ของสภาพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี มีความสัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก
  3. รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการสภาพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี มีดังนี้คือ 1) ด้านบุคลากร สภาพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรีมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสภาขึ้นมามีคณะกรรมการบริหารและมีสมาชิกสภาที่เป็นพระนักเผยแผ่แผนกต่างๆรวมอยู่ในสภาพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี 2) ด้านงบประมาณของสภาพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี  สภาพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี  มีงบประมาณส่วนหนึ่งที่ได้รับการเสียสละจากพระนักเผยแผ่ร่วมกันทอดผ้าป่าทุกวันที่  11  ของเดือนกันยายนของทุกปีและมีทุนจำนวน  4  ล้านเศษฝากไว้กับธนาคารเพื่อนำดอกผลจากการฝากมาบริหารจัดการสภาพระนักเผยแผ่ฯ  3) ด้านวัสดุอุปกรณ์ของสภาพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบุรี  พระนักเผยแผ่อาศัยวัสดุที่มีอยู่ภายในวัด  เช่น  พระพุทธรูปและข้อวัตรปฏิบัติของพระนักเผยแผ่ฯ  อาศัยศาสนสถานงานศิลปะปูนปั้น  งานจิตกรรมฝาผนังและโบราณสถาน กลองระฆัง  และศาลากลางหมู่บ้านในเขตที่วัดตั้งอยู่เป็นที่ทำการเผยแผ่ฯ  และมีสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย  จังหวัดเพชรบุรี  คลื่น  FM  95.75  MHz 4) ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการสภาพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี ด้านการบริหารจัดการต้องประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของหลายฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายบริหารต้องให้ความร่วมมือในการพัฒนาโดยบูรณาการในด้านการบริหารจัดการที่เหมาะสมในรูปแบบที่น่าสนใจและเป็นที่พึงพอใจของพระนักเผยแผ่ฯและพุทธศาสนิกชน

References

Nansaphon Ninarun. (2009). Development of knowledge management system of the Office of Educational Service Area (Doctor of thesis). Graduate School: Chulalongkorn University.
Phra Maha Sahatsa Thit Sa Ro. (2008) Organization Management of Sangha (Research Report). Faculty of Education, Mahachulalongkornrajavidyalaya, Ministry of Education.
Phra Ratworamuni (Prayut Payutto). (1984). Monk Institute and Thai Society.Bangkok: Lamphun Thong Prateep Foundation.
Phramaha Kraiwan Punkhan. (2009). Strategic Leader of The Executive Office of The Buddhist Scripture School (Doctor of Thesis). Graduate School: Silpakorn University.
Suchip Punyanuphap. (1981). Comparative Religion. Bangkok: Ramkhamhaeng University.

เผยแพร่แล้ว

2019-09-11

How to Cite

(ศรัณภิรมย์ กิตฺติธโร) พ., กิตฺติโสภโณ พ. ., & สุขเหลือง เ. . (2019). รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการสภาพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(3), 86–95. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/181375