ประสิทธิผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15

ผู้แต่ง

  • พระมหานิกร ฐานุตฺตโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การพัฒนาการจัดการศึกษา, พระปริยัติธรรมแผนกบาลี, เขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15    2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15  

การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จำนวน 11 ท่าน โดยวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงปริมาณได้แจกแบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสังฆาธิการ เจ้าสำนักเรียนและครูสอนบาลี จำนวน 293 ชุด วิเคราะห์ข้อมูล                โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์            โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

 ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพทั่วไปด้านสถานที่ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 มีความพร้อมอย่างมาก ในการก่อสร้าง ซึ่งมีศรัทธาจากเจ้าคณะ พระสังฆาธิการ และศรัทธาจากสาธุชนร่วมด้วยช่วยกัน      ในการบริจาค โดยเฉพาะมีพระเดชพระคุณพระพรหมเวที เจ้าคณะภาค 15 ผู้ซึ่งมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล       เป็นอย่างมาก  ได้ให้การสนับสนุนด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 ได้ตั้งโรงเรียนสหศึกษาบาลีซึ่งให้ทุกจังหวัดในเขตปกครอง ภาค 15 ใช้คำว่า “โรงเรียนสหศึกษาบาลี”  2. ด้านคณาจารย์ เจ้าคณะภาค 15 ได้มอบนโยบาย ให้แต่ละสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มีครูอาจารย์ผู้สอนที่เพียงพอแก่ผู้เรียน ทำให้การจัดการเรียน การสอน พระปริยัติธรรมแผนกบาลีมีประสิทธิภาพ  3. ด้านหลักสูตร การเรียน - การสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี      มีการใช้หลักสูตรเดิมที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณทั่วประเทศ ภาษาที่ใช้ในหนังสือเป็นภาษาที่เข้าใจยาก เนื้อหาสาระในแผนกบาลีเน้นการจำและการแปลมากกว่าความเข้าใจ แต่เป็นการดีอย่างหนึ่งคือหลักสูตร เป็นการเน้นรูปแบบเดิมและจดจำ เพื่อรักษาความเป็นต้นฉบับ ในส่วนของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 มีการจัดทำหลักสูตรพิเศษ เช่น หนังสือบาลีไวยากรณ์ฉบับพกพา เป็นต้น  4. ด้านนักศึกษา เจ้าคณะภาคได้วางนโยบายให้มีการบรรพชาและ/หรืออุปสมบทเข้ามาในบวรพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง หรือ ก่อนเข้าพรรษา ทำให้มีทรัพยากรที่จะเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตบุคลากรของพระศาสนา 5. ด้านเทคโนโลยี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15  มีความพร้อมด้านสื่อ แต่ขาดบุคลากรในการจัดทำ
  2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 โดยภาพรวม พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโดยการหาค่าสหสัมพันธ์ Pearson พบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) มีค่า 0.895 ซึ่งแสดงว่าปัจจัยที่ส่งผล คือ หลักการบริหารจัดการ POSDC กับ ประสิทธิผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15มีความสัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) แล้วพบว่ามีค่า 0.900 ซึ่งแสดงว่า ปัจจัยที่ส่งผล คือ หลักธรรม คือ อิทธิบาทธรรม 4 กับประสิทธิผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 มีความสัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก
  3. นำเสนอแนวทางการพัฒนา 5 ด้าน คือ 1) ควรให้อำเภอแต่ละอำเภอในภาค 15 รับจัดการการเรียน การสอน เป็นที่ตั้ง และเจ้าคณะ พระสังฆาธิการในเขตอำเภอนั้นๆให้การสนับสนุนงบประมาณที่เหมาะสม 2) สิ่งที่ควรปรับปรุงคือควรมีการประชุมวางแผนเพื่อจัดทำแผนการสอน ซึ่งในแต่ละชั้นมีการวัดและประเมินผลทุกสัปดาห์ 3) สร้างแรงจูงใจดึงดูดความสนใจแก่นักศึกษาภาษาบาลีมากขึ้นและมีการจัดห้องสมุดสำหรับค้นคว้าพระไตรปิฎกโดยเฉพาะหรือมี Computer ในห้องสมุดเพื่อศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม 4) สิ่งที่ควรปรับหากเป็นไปได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองวุฒิการศึกษาสำหรับผู้จบการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีให้มากขึ้น และ 5)มีวิธีการสอนระบบทางไกลและออนไลน์ทำให้ผู้สนใจ ทั้งพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ได้ศึกษาจากระบบทางไกลนั้น

References

Department of Religious Affairs. (1996). Handbook of Buddhist Studies in the Dhamma - Pali Education Department, Bangkok: Department of Religious Affairs.

Phukkakorn meangnil. (2018). Pali training book before the 15th chapter of the Sangha in the year 2018. Ratchaburi: Mueang Government Print.

Thanin Sillapajaru. (2009). Research and statistical data analysis. Bangkok: Business R & D.

Phrakhrupalad Somchai Abhivanno (Haolee). (2015). Factors effecting the success in administration of pariyatti dhamma schools in the sangha administration of area i. (Doctor of thesis). Graduate School : Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phrakhrupalad Phaiboon metiko (mahaboon). (2015).. Efficiency development of phrapariyattidhamma Schools Pali Section administration of monasteries Sangha Administration Region 14. (Doctor of thesis). Graduate School : Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

เผยแพร่แล้ว

2019-09-28

How to Cite

ฐานุตฺตโร พ., กิตฺติโสภโณ พ. ., & สุขเหลือง เ. . (2019). ประสิทธิผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(3), 73–85. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/176873