การปฏิรูปเทศบาลสู่การเป็นองค์การที่เป็นเลิศ ตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0
คำสำคัญ:
การปฏิรูปท้องถิ่น , องค์กรสมรรถนะสูง, เทศบาลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคขององค์การปกครอง ท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลจากอดีตถึงปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการปฏิรูปเทศบาลสู่ความเป็นเลิศตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิรูปเทศบาลสู่ความเป็นเลิศตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่มุ่งศึกษาการปฏิรูปเทศบาลตามนโยบายรัฐบาลในยุค คสช. ที่ต้องให้เทศบาลเป็นหน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติงานเป็นเลิศและสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่ม, รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสังเกตมีข้อค้นพบโดยสรุป ดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า
ประการแรกเทศบาลต้องมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (Financial Sustainability) จากการเก็บข้อมูล พบว่าปัญหาสำคัญที่ทำให้องค์กรปกครองท้องถิ่น ไม่สามารถจัดบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพได้เป็นเพราะปัญหาด้านงบประมาณขององค์การปกครองท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากข้อจำกัดด้านนโยบายการคลัง ทั้งในด้านความเป็นอิสระในการจัดหารายได้ และข้อจำกัดจากการจัดสรรงบประมาณ
ประการที่สองเทศบาลต้องมีความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง(Changes)
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่นหรือเทศบาลเป็นปัญหาส่งผลกระทบต่อการจัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพโดยการเปลี่ยนแปลงในเทศบาลประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านประชากร,การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงด้านการขยายตัวของเมือง
ประการที่สามเทศบาลต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมจากผลการทำงาน (Accountability) เนื่องจากการดำเนินงานของเทศบาลมีลักษณะการดำเนินงานในรูปแบบการจัดบริการสาธารณะ หรือการให้บริการสาธารณะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นการกำหนดนโยบายสาธารณะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมทั้งการร่วมคิด , การร่วมทำ , และการร่วมเป็นหุ้นส่วน
ประการที่สี่เทศบาลต้องมีความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของหน่วยงานภาครัฐมีความสำคัญ เพราะมีผลต่อรูปแบบการให้บริการและมีผลต่อระบบการจัดบริการสาธารณะโดยการจัดบริการสาธารณะต้องเป็นประโยชน์ เหมาะสมคุ้มค่าและเพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในพื้นที่
References
Buytendijk, Frank.(2006). Five Key to Building High Performance Organization.
Business Performance Management, 4(1), 24-30.
Charoenmuang, T. (2007).100 years; Thai Local Governance 1897-1997 AD.Sixth edition.Bangkok, Khobfai Printing Project.
Denhardt, Robert B. and Denhardt, Janet Vinzant. (2000). The New Public Service: Serving Rather than Steering.Public Administration Review, 60(6), 549-559.
Information Center & Investigative News for Citizen Right (2015).Reform: Local Reform in Plan Spreading, Frame of New Local Administration; Election-Merger, Municipality + SubdistrictAdministive Organization, increasing the Supervisor. Searched in 30 September (2016). From http://www.tcijthai.com/news/2015/05/scoop/5554
Kokphon, A. &Parisuttiyarn, C. (2009).The Secret of Local Public Service, Lesson from King Prajadhipok’s Institute Prize 51. Bangkok. King Prajadhipok’s Institute.
Local Administration, Department of, Ministry of the Interior.(2007) Conclusion of Public Service Standard on Local Administration Organization.Bangkok. Department of Local Administration.
Lukkhansook, E. (2015) Role of the citizen in Good Governance; in case of Title Deed of Wat Don Sawan (deserted) Sakhonnakorn province. Pariament Journal.
Maecinsri, S. (2016).Concept of Thailand 4.0 searched in 30 June 2017 from http://planning2.mju.ac.th/goverment/20111119104835_planning/Doc_25590823143652_358135.pdf
Political News Team,Post Today (2016). Local Reform Plan, No Collapse but Merger.Searched in 30 September 2016, from https:// www.posttoday.com/ analysis/ report/ 451147.
Puangngam, K. (2006). New Dimension of Local Reform; Vision of Decentralization and Local Administration. Bangkok. Sematham.
Vecchio, R.P. and Appelbaum, S.H. (1995).Managing Organizational Behavior.Toronto:Dryden.
Sompong, S. (2014) Project of Follow Up in Result Evaluation and effect of the Operation on the mission of Transfer Local Administrative Organization. Bangkok. Office of the Decentralization to the Local Government Organization, Office of the Permanent Secreatary.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น