การบริหารจัดการองค์กรสื่อภาครัฐเพื่อสังคมสันติตามแนวพุทธ
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการองค์การสื่อภาครัฐ, การสื่อสาร, แนวพุทธบทคัดย่อ
บทความนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการองค์กรสื่อ
ภาครัฐ 2.เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวพุทธของการบริหารจัดการองค์กรสื่อภาครัฐ และ 3. เพื่อ
นาเสนอรูปแบบการบริหารจัด การองค์กรสื่อภาครัฐเพื่อสังคมสันติตามแนวพุทธ การวิจัยในครั้งนี้
เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary
Research) ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (Key Infor Mants) จานวน 28 รูป/
คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) พิจารณาถึงการได้ข้อมูลที่ครอบคลุมประเด็น
สาคัญ และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus group discussion) เครื่องมือการวิจัยแบบสัมภาษณ์
เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ได้แก่ ด้านข้อมูล
(Data) ด้านแนวคิดทฤษฎี (Theory) และด้านผู้วิจัย (Researcher)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารจัดการองค์กรสื่อภาครัฐ พบว่า 1) สื่อภาครัฐโดยการนานโยบายสื่อ
ไปปฏิบัติ อย่างรวดเร็วและมีทัศนคติที่ดีต่อประชาชน 2) การสื่อสารเพื่อความมั่นคง โดยมีข้อมูล/
ข่าวสารให้ประชาชนยอมรับเชื่อถือได้ 3) การสื่อสารเพื่อการสร้างสรรค์ โดยใช้ช่องทางสื่อเกิดการ
แข่งขันอย่างเป็นธรรม และ 4) สื่อเร่งด่วนที่มีผู้รับสารเลือกยืนอยู่กับความดีงาม และรายงาน
ข่าวสารอย่างรวดเร็ว ถูกต้องและเป็นศูนย์กลางในการนาเสนอข่าวต่างๆ เป็นต้น
2. องค์ประกอบและแนวพุทธของการบริหารจัดการองค์กรสื่อภาครัฐ พบว่า 1) ผู้ส่งสาร
(Sender) ควรให้ข่าวสารข้อมูลที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน 2) ข้อมูล (Message)
ควรกล่าววาจาถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาไทย 3) ช่องทาง (Channel) ควรให้ข้อมูลข่าวสารแก่
ประชาชนในด้านประชาสัมพันธ์ 4) ผู้รับสาร (Receiver) ควรวางตนให้ถูกต้องสม่าเสมอ รวมทั้ง
สังคมสันติตามแนวพุทธ ได้แก่ หลักสังคหวัตถุ 4 คือ ทาน (การให้) ปิยวาจา (การพูด จาดี)
อัตถจริยา (การบาเพ็ญประโยชน์) และสมานัตตตา (การวางตนเป็นกลาง) 3. รูปแบบการบริหาร
จัดการองค์กรสื่อภาครัฐเพื่อสังคมสันติตามแนวพุทธ พบว่า 1) การนานโยบายสื่อไปปฏิบัติตามแนว
พุทธทาให้สังคมเกิดความสงบสุขได้ด้วยการให้สาระความรู้และตรวจสอบข้อมูลที่เป็นจริง
2) การสื่อสารเพื่อความมั่นคงตามแนวพุทธทาให้สังคมเกิดความสงบสุขได้ โดยการให้ข้อมูลข่าวสาร
ที่ถูกต้อง และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วและเป็นกลาง 3) การสื่อสารเพื่อการสร้างสรรค์
ตามแนวพุทธต้องมีความรู้ในด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง ทาให้
สังคมเกิดความสงบสุขได้ และ 4) สื่อเร่งด่วนตามแนวพุทธ ให้ความรู้ในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี
สังคมจึงเกิดความปรองดองและสันติสุข
References
Department of Energy. Department of Energy, According to Buddhist.
(Doctoral Dissertation). Department of Public Administration. Graduate
School: Summary of National Conference Mcu Congress I. Bangkok :Mahachulalongkornrajavidya University.
Busakorn Watthanabut. (2018). Creating a model for Ethical Development for the
Development of Human Capital in the 21st Century. Journal of MCU
social Science Review,7(1),271.
Chamnong Adiwattnasith. (2005). Communication With The Stability of Buddhism
(Research Report). Buddhist Research Institute. Mahachulalongkornrajavidyalaya
University.
Kanchana Kaewthep. (2013). Journalism: Theory and Study. Edition 4: Bangkok:
Parbpim Printing.
Nithita Siripongthaksin. (2011). In Politics, The Media, The Public Policy of The
Organization of Thailand PublicBroadcasting (Doctoral Dissertation).
Faculty of Political Science. Graduate School: Chulalongkorn
University.
Panatchaya Leelayouth. (2016). Political Communication for Peace: Buddhist
Integration (Doctoral of Thesis). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya
University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น