มาตรการทางกฎหมายในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ของไทย

ผู้แต่ง

  • พระมงคลสุตาคม (สิทธิชัย ชาวเพชร) Rangsit University.

คำสำคัญ:

มาตรการ, การบริหารจัดการ, ทรัพยากรป่าไม้

บทคัดย่อ

บทความเรื่องมาตรการทางกฎหมายในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ของไทย ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายทรัพยากรป่าไม้ในต่างประเทศ 3) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ของไทย และ4) เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายมาตรการการบังคับใช้ตามกฎหมายทรัพยากรป่าไม้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการดำเนินการวิจัยทางด้านกฎหมาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลจากบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เอกสาร หนังสือ คำอธิบาย บทความในตำราอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอการดำเนินงานตามมาตรการทางกฎหมายในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ของไทย

การศึกษาวิจัยพบว่า มาตรการทางกฎหมายทรัพยากรป่าไม้ระหว่างประเทศเป็นความ
ตกลงระหว่างประเทศในเรื่องที่สำคัญเฉพาะเรื่องที่ทำเป็นตราสารสมบูรณ์ประกอบด้วยอนุสัญญาระหว่างประเทศ เป็นอนุสัญญาเกิดจากวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม มีพัฒนาการแนวคิดและความเคลื่อนไหวป่าไม้ระดับโลกเกิดจากการแย่งชิงทรัพยากรป่าไม้ แบ่งเป็น 3 ยุค การบริหารงานป่าไม้ในต่างประเทศที่ได้ผลดี พบว่า ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านการป่าไม้ ส่วนในประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้มี 5 ฉบับ กฎหมายแต่ละฉบับมีข้อบกพร่อง ส่งผลให้งานป่าไม้ของไทยไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

ปัญหาทางกฎหมายในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ของไทยอยู่ที่เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ ซึ่งการกำหนดโทษปรับกรณีบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายไทยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ให้คงสภาพไว้ได้ดียาวนานที่สุด แนวทางแก้ไขปัญหา คือ ควรกำหนดให้นายทุนที่ได้รับสัมปทานปลูกป่าชดเชย ควรลงโทษผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ และกฎหมายอื่นๆ ควรแสวงหาป่าเพิ่ม เพื่อปลูกป่าใหม่สำหรับผู้ได้รับสัมปทานที่เป็นนายทุน

References

Department of Forestry, Bangkok (Thailand). (1992). Organized by The Community Forest. Office of The Ministry of Agriculture and Cooperatives.
Krisda Boonchai. (2015). Law Enforcement for Human Rights Enforcement (Check Lists on Law, Forest and Wildlife) (Research Report). The Legal Reform Commission Under The Land Sub-Committee Natural Resources and Environment Fiscal Year 2015.
Ministry of Natural Resources and Environment. (2015). Master Plan to Solve The Problem of Forest Destruction, Invasion of State Land. and Sustainable Management of Natural Resources. Bangkok: Ministry of Natural Resources and Environment.
Sunee Mawikaka. (2002). The Constitution and The People's Participation in The Conservation of Natural Resources and The Environment. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Supatra Chantavanich. (1997).Qualitative Research Methods. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Tassanee Thaiyapirom. (2002). Social Work How to Make a Strong Community. Bangkok: Thammasat University Press.
Thongchai Jarupapat, (1998). The Forest Situation of Thailand During 37 Years. Bangkok: Forest Resources Analysis Department of Forestry, Royal Forest Department.

เผยแพร่แล้ว

2018-12-22

How to Cite

(สิทธิชัย ชาวเพชร) พ. (2018). มาตรการทางกฎหมายในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ของไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(4), 1–12. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/161888