การบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ตำท่าน้ำอ้อย อำพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • วรรณมาฆะ เกษรดอกไม้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการชุมชน, พัฒนา, โบราณสถานประวัติศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี         จ.นครสวรรค์และศึกษาแนวทางการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์  ที่ได้รวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  ประกอบด้วยการศึกษาจากเอกสาร แบบสอบถาม และการประชุมกลุ่ม (Focus Groups) เพื่อได้ข้อมูลที่เป็นจริงเป็นวิธีหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์  ที่มีทั้งหมด ๒,๘๖๒ คน (ข้อมูลการจัดทำ จปฐ.ของเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อย พ.ศ.๒๕๕๕) กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยจำนวน ๓๔๑ คน จากจำนวนประชากร จำนวน ๒,๘๖๒ คนโดยใช้ตารางแสดงประชากรและกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie  and Morgan โดยใช้การสุ่มแบบโควตา เพื่อทำการแจกแบบสอบถาม และใช้การประชุมกลุ่ม (Focus Groups) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  (Purposve  Sampling) คือ ผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ เช่น เจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบ ตัวแทนภาคประชาชนจากชาวบ้านหมู่ ๔ หมู่ ๘ ตำบลท่าน้ำอ้อยและหมู่ ๖ ตำบลม่วงหัก เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์ วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 

             ผลการวิจัยพบว่า 

             ระดับการบริหารจัดการของชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการนำหรือการสั่งการ มีระดับการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมมากที่สุดรองลงมา ได้แก่ ด้านการควบคุม มีระดับการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วม อันดับที่สอง  ต่อมาคือ ด้านการจัดการองค์กรอันดับที่สาม และด้านการวางแผน อันดับที่สี่ ตามลำดับ

             แนวทางการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ แยกเป็นรายด้านได้ดังนี้

             ๑. การประชาสัมพันธ์ (Public  relation) ตามสื่อต่างๆ ในการจัดกิจกรรมและสืบสาน  ความเป็นมาของสถานโบราณประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน

             ๒. การปลูกฝังจิตสำนึก (Conscious) ในการมองเห็นถึงคุณค่าของสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน โดยการให้ผู้สูงอายุมาเล่าเรื่องราวที่มาของสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ให้เยาวชนได้รับทราบเพื่อสืบทอดเรื่องราวต่อไป

             ๓. การเสียสละเพื่อส่วนรวม (Sacrifice for Public) ของชาวบ้านในการจัดเวรยามเพื่อทำการดูแล บำรุงรักษา สถานโบราณประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน

             ๔. งบประมาณที่เพียงพอ (Budgeting) เพื่อการดำเนินการส่งเสริมอาชีพของคนในชุมชนให้มีรายได้มากขึ้นและมีกิจกรรมที่เน้นให้ประชาชนให้มีบทบาทหน้าที่ในการควบคุมดูแลและทำการติดตามผลการดำเนินการของทางการที่มากขึ้น

References

๑. ภาษาไทย
(๑) หนังสือ
ประเวศ วะสี. แด่คุณครูกัลยาณมิตรของสังคม. กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน, ๒๕๓๘, มปป.
สมาน รังสิโยกฤษฏ์. การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน, ๒๕๓๗.
(๒) วิทยานิพนธ์
ชูชาติ พ่วงสมจิตต์. การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของ ชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานครฯ การศึกษาดุษฎี บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
ประยูร ศรีประสาธ. รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของ คณะกรรมการการศึกษาประจำโรงเรียนประถมศึกษา ปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๒.
ปัญญา ธนะสัมบัญ. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาชุมชนตาม ข้อเสนอแนะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรศึกษาที่จังหวัดปทุทธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๓๕.
มนัส นพรัตน์. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณี เทศบาลตำบลปากแพรก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
อัญชลี รัชนกุล. การรับรู้ ความคาดหวัง และความพึงพอใจของประชาชนต่อบาบาทของตำรวจ ชุมชนประจำตำบล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๑.

๒. ภาษาอังกฤษ
(I) Book:
Ikujiro Nonaka, and Hirataka Takeuchi, The Knowledge Creating Company : How Japanese Companies Create the Dynamics of Innovation, New York, [u.a]: Oxford University Press, 1995.
Margaret J. Wheatley, Leadership and the New Science : Discovering order in chaotic world. 2ndEdition, San Francisco : Berrett-Koehler Publishers, 1999.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-04-15

How to Cite

เกษรดอกไม้ ว. . . (2015). การบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ตำท่าน้ำอ้อย อำพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 169–179. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245467