LIP Model: กระบวนการนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ธานี ชูกำเนิด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ฐิติมดี อาพัทธนานนท์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • มารุต ดำชะอม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เอกรินทร์ สังข์ทอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

LIP Model, กระบวนการนวัตกรรมการเรียนรู้, ปราชญ์ชาวบ้าน, การพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

LIP Model คือรูปแบบของกระบวนการนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของปราชญ์ชาวบ้านภาคใต้  ซึ่งประกอบไปด้วย ๓ กระบวนการสำคัญ คือ กระบวนการสร้างนวัตกรรม(Innovation Creation)กระบวนการนำนวัตกรรมไปใช้(Innovation Utilization) และกระบวนการเผยแพร่นวัตกรรม(Innovation Diffusion) โดยมีขั้นตอนตามลำดับดังนี้ ย้อนแลกำพืด ชอบสืบสรรหา เปลี่ยนใหม่ให้แปลกกว่า ตั้งท่าเตรียมลองใช้ ลองแล้วลองเล่า ทำเฒ่าทำใหม่ ให้สมดุลเอาไว้ และร่วมใจใช้ร่วมกัน เปิดสังคมการเรียนรู้ สมรมอยู่แบบรู้หวัน แตกหน่อทำต่อกัน และถูกผิดมันเช่นนั้นเอง  ภายใต้ปัจจัยการมีต้นแบบผู้นำดี มีวิสัยทัศน์ร่วม สวมใส่นวัตกรรม ทำเป็นพลวัต จัดการครบวงจร สอนกันฉันท์กัลยาณมิตร ใกล้ชิดแหล่งเรียนรู้ วิชาการคู่ภูมิปัญญา พึ่งพาเทคโนโลยีที่เหมาะสม และสังคมยอมรับได้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้กระบวนการนวัตกรรมการเรียนรู้ประสบความสำเร็จไปสู่ความยั่งยืน

References

๑. ภาษาไทย
(๑) หนังสือ :
กีรติ ยศยิ่งยง. องค์กรแห่งนวัตกรรม : แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒.
ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์. ภูมิปัญญาไทยกับการพัฒนาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒.
วิจารณ์ พานิช. การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : ตถาตา, ๒๕๔๙.
วิชัย ตันศิริ. โฉมหน้าการศึกษาไทยในอนาคต : แนวคิดของการปฏิรูปการศึกษาใน พ.ร.บ. การศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๗.
เสรี พงศ์พิศ. ปฏิรูปสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : พลังปัญญา, ๒๕๕๓.
อมรวิชญ์ นาครทรรพ และคณะ. การศึกษาในวิถีชุมชน : การสังเคราะห์ประสบการณ์ในชุดโครงการวิจัยด้านการศึกษากับชุมชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๕๑.
อุทัย ดุลยเกษม และอรศรี งามวิทยานนท์. ระบบการศึกษากับชุมชน : กรอบแนวคิดและข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : แปลนปริ้นติ้ง, ๒๕๔๐.
(๒)วิทยานิพนธ์/รายงานวิจัย
พจนี เทียมศักดิ์. “ปฏิสัมพันธ์ของการเรียนรู้ในชุมชนและโรงเรียน”, วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๔๓.
ธวัชชัย เพ็งพินิจ. “คุณลักษณะของปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรมแผนใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” , รายงานวิจัย กรุงเทพมหานคร : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, ๒๕๕๐.
๒. ภาษาอังกฤษ
(I) Book :
Nonaka, I. and Takeuchi, H. The Knowledge-creating Company : How Japanese Companies Create the Dynamics of Innovation. New York : Oxford University Press, 1995.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-30

How to Cite

ชูกำเนิด ธ., อาพัทธนานนท์ ฐ., ดำชะอม ม., & สังข์ทอง เ. (2020). LIP Model: กระบวนการนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(3), 185–196. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245454