กลไกการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของพระวินยาธิการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
กลไก, การพัฒนาศักยภาพ, การปฏิบัติงาน, พระวินยาธิการบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์1. ศึกษาสภาพทั่วไปในปฏิบัติงานของพระวินยาธิการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกับการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของพระวินยาธิการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3. นำเสนอกลไกการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของพระวินยาธิการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอรรถาธิบายและพรรณนาความ แล้วจึงสร้างรูปแบบเบื้องต้น ก่อนนำเสนอผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 รูปหรือคน ยืนยันรูปแบบอีกครั้งหนึ่งในการสนทนากลุ่มเฉพาะ และวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 181 ชุด กับกลุ่มตัวอย่างคือพระวินยาธิการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความสัมพันธ์สหสัมประสิทธิ์
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์สภาพทั่วไปในการปฏิบัติงานของพระวินยาธิการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นหัวหน้าพระวินยาธิการประจำจังหวัด ดูแลเอาใจใส่ต่อการปฏิบัติงานของพระวินยาธิการเป็นอย่างดีมีการแต่งตั้งเจ้าคณะตำบลทุกตำบลในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้เป็นพระวินยาธิการ ทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยในเขตปกครองคณะสงฆ์ของตนเอง และมีการประชุมกันทุกเดือน ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน คือ ยังขาดงบประมาณสนับสนุนในการปฏิบัติหน้าที่ของพระวินยาธิการ อาทิเช่น ค่าพาหนะในการเดินทาง ค่าประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 2. ปัจจัยที่ส่งผลกับการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของพระวินยาธิการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า พระวินยาธิการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีระดับปฏิบัติการในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.44 , S.D. = 0.557) เพื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการปฏิบัติงานของพระวินยาธิการมีค่าเฉลี่ยมากกว่าด้านอื่นๆ คือ ด้านสมรรถนะในการทำงาน ด้านคุณลักษณะพื้นฐาน และ ด้านปัจจัยในการทำงาน ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลในการทำงาน ปัจจัยด้านคุณลักษณะพื้นฐาน และ ปัจจัยด้านประเภทของสมรรถนะในการทำงาน กับการปฏิบัติงานของพระวินยาธิการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยการหาค่าสหสัมพันธ์ Pearson พบว่า ค่า Significant Level มีค่าเท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.005 นั่นคือ ปัจจัยที่ส่งผลในการทำงาน ปัจจัยด้านคุณลักษณะพื้นฐาน และ ปัจจัยด้านประเภทของสมรรถนะในการทำงาน กับการปฏิบัติงานของพระวินยาธิการมีความสัมพันธ์กัน 3. กลไกการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของพระวินยาธิการประกอบด้วย 5 กลไก คือ (1) ศึกษาจัดทำข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงานให้เป็นระบบ ฐานข้อมูลจำนวนพระภิกษุสามเณรในจังหวัด ฐานข้อมูลพระวินยาธิการในจังหวัด (2) จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพด้วยการส่งพระวินยาธิการไปศึกษาหลักสูตรพระวินยาธิการ, นิติศาสตรบัณฑิต (3) พัฒนาขีดความสามารถตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล ส่งเสริมให้พระวินยาธิการมีศีลาจารวัตรเรียบร้อยเป็นแบบอย่างที่ดี 2. สมาธิ พระวินยาธิการต้องนิ่ง ไม่เอนเอียงตามอคติ และ 3. ปัญญา พระวินยาธิการต้องแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ต้องแม่นพระธรรมวินัย และกฎหมาย (4) การให้คำปรึกษาด้วยการจัดตั้งสำนักงานพระวินยาธิการกลาง และมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการ และ (5) การติดตามและประเมินผล มีการติดตามผลการปฏิบัติงานและรายงานเจ้าคณะผู้ปกครองทราบ
References
Bardo. J. W..& Hartman. J. J. (1982). Urban society: A systematic introduction.New York : F. E. Peacock. 1982.
Beatrice Heuser. (2010). The Evolution of Strategy: Thinking War from Antiquity to the Present. Cambridge University Press.
John M. Bryson. (1993). Strategic Planning for Public Service and Non-Profit Organizations.Oxford : Pergamom Press.
Keeves. P. J. (1988). Educational research methodology and measurement : An international handbook Oxford. England : Pergamon Press.
Lee J. Cronbach. (1971). Essentials of psychological testing. 4th ed.. New York : Harper & Row.
Phrakhru Sunthornvacharakit Boontham Thammamiko. (2016). "Human Resource Management Strategy of the Sangha Province of Phetchaburi". Ph.D. Buddhist Management Program. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Robbins. S. P. and Coulter. M. (2007). Management. 9th ed.. London: Prentice- Hall.
Smith. R. H.. and Others. (1980). Measurement : Making Organization Perform. New York : Macmillan.
The protection of Buddhism. (2011). The manual of the Pravinyathikan operation center Bangkok Buddhist Monk. Nakhon Pathom: National Buddhism Office.
Wheelen. T. L. & Hunger. D. L..(2000). Strategic Management and Business Policy.New York : Addison-Wesley Publishing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น