การวิเคราะห์องค์ประกอบในการตัดสินใจประกอบอาชีพเกษตรกรรม หลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาเกษตร ภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • สุนันทา ศรีรัตนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • จักรพงษ์ พวงงามชื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • นคเรศ รังควัต มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, อาชีพเกษตรกรรม, นักศึกษาเกษตร, การวิเคราะห์องค์ประกอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การตัดสินใจ การวิเคราะห์องค์ประกอบการตัดสินใจ และแนวทางในการจูงใจเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาเกษตร ภาคเหนือตอนบน ชั้นปีที่ 3 และ 4 จำนวน 370 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงเหตุผล

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษา 66.50% เป็นเพศหญิงระดับชั้นปีที่ 3 และ 4 ในสัดส่วนเท่ากัน อายุเฉลี่ย 22.26 ปี บิดาและมารดาประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้เฉลี่ยจากการเกษตร 75,352.46 บาท/ปี และนอกภาคเกษตรเฉลี่ย145,795.08 บาท/ปี มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง (75.40%) ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีความรู้เฉพาะทางด้านพืชมากที่สุด เข้าร่วมอบรมทางการเกษตรกับหน่วยงานภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย (34.10% และ 41.90%) มีทัศนคติต่ออาชีพเกษตรกรรม และการชักจูงจากเพื่อนในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.50 และ gif.latex?\bar{X}= 3.30) และแรงจูงใจจากอาจารย์อยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกันกับการตัดสินใจประกอบอาชีพเกษตรกรรม (gif.latex?\bar{X} = 3.51 และ gif.latex?\bar{X}= 3.53) การวิเคราะห์องค์ประกอบการตัดสินใจ 20 ตัวแปร พบค่าความผันผวน 0.938 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตัวแปรด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีความสำคัญที่สุด ดังนั้น นโยบายด้านการพัฒนาหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนในมิติของเทคโนโลยีและความร่วมสมัยเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยต้องทบทวนอย่างเร่งด่วน

References

กมลฉัตร กลัดแกล้วและคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่ออาชีพเกษตรกรรมของยุวเกษตรกร ในอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการเมืองการปกครอง, 6(2), 377-393.

จักรพงษ์ พวงงามชื่นและคณะ. (2562). เหตุจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตกรรมหลังจบการศึกษาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษยสังคมศาสตร์, 17(3), 135-156.

________. (2558). คุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในอำเภอออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ฟาติมา คามาทา. (2019). ญี่ปุ่นปฏิวัติการเกษตร ปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินและเกษตรกร เพิ่มความมั่นคงทางอาหาร. สืบค้น 8 ตุลาคม 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/international-49963119

นวอร เดชสุวรรณ์. (2562). สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยและภาคเหนือ ไตรมาส 2 ปี 2562. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dlink.php?nid=8533

ราษกิจจานุเบกษา. (2563). ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอานาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/053/T_0021.PDF

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2543). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). เกษตรกรยุคใหม่เพื่ออนาคตประเทศไทย. นนทบุรี: ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2562 และแนวโน้มปี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

สำนักงานเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนพัฒนาภาคเหนือ พ.ศ. 2560-2565 ฉบับทบทวน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนพัฒนาภาคเหนือ พ.ศ. 2560-2565 ฉบับทบทวน. สืบค้น 5 มิถุนายน 2564, จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7528&filename=index

อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ. (2562). ใน สัมมนา 23 เมษายน 2562 ณ โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง: เกษตรยุคใหม่ ตลาดนำ นวัตกรรมตาม. ระยอง: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช).

Ginzberg et al. (1967). Occupational choice: An approach to a general theory (2nd ed). New York: Columbia University.

Google. (2021). Google ฟอร์ม. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2564, จาก https://docs.google.com/

Henry F. K., & John, R. (1974). Educational and Psychological Measurement. 34, 111-117.

Poung-ngamchuen, J., & Namvises, K. (2012). People's Participation in Dong Na Tham Community Forest Management Project, Ubon Ratchathani, Thailand. Kasetsart J. (Soc. Sci), 33(3), 486-498.

Likert, R. A. (1961). New patterns of management. Print book : EnglishView all editions and formats. New York: McGraw-Hill Book Company, Inc.

Reeder, W. W. (1974). Some Aspects of the Informal Social participation of Farm Families in New York State. Cornell University.

Slovin, E. (1960). Slovin's formula for sampling technique. New York: Houghton-Mifflin.

The WorldBank. (2019). World Development Indicators: Structure of output. Retrieved May 1, 2021, from http://wdi.worldbank.org/table/4.2#

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-19

How to Cite

ศรีรัตนา ส. ., พวงงามชื่น จ. ., รังควัต น. ., & เครือคำ พ. . (2021). การวิเคราะห์องค์ประกอบในการตัดสินใจประกอบอาชีพเกษตรกรรม หลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาเกษตร ภาคเหนือตอนบน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 169–183. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/254371