การศึกษาแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, นักเรียน, พระปริยัติธรรมแผนกบาลีบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดชลบุรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดชลบุรี 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการศึกษาแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดชลบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธีโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักและสนับสนุนด้วยการวิจัยเชิงปริมาณตามลำดับ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูป/คน ได้แก่ พระสังฆาธิการ โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) และสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 13 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.907 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสงฆ์ จำนวน 370 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของสภาพทั่วไปในการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีด้วยการวิเคราะห์ SWOT Analysis ด้านจุดแข็ง ปัจจุบันมีสำนักเรียนที่มีความพร้อมทั้งในด้านนักเรียนครูผู้สอนสถานที่พักตลอดจนทุกอุดหนุน สร้างมหาเปรียญปีละหลายสิบรูป ด้านจุดอ่อน ขาดนักเรียน และครูที่มีความชำนาญหลายสำนักเรียนที่เคยมีชื่อเสียงต้องปิดตัวลงเพราะขาดบุคลากรและนักเรียนรวมถึงการขาดการสนับสนุน ด้านโอกาส เจ้าสำนักที่มีกำลังความสามารถโดยเฉพาะด้านการเงิน/คน/มีการจัดการที่ดี ทำให้การเรียนการสอนยังมีอยู่ถ้ามีการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนสำนักเรียนที่ปิดตัวลงก็อาจจะกลับฟื้นตัวขึ้นมาได้ ด้านอุปสรรค ขาดบุคลากร คือ นักเรียน ขาดทุนสนับสนุน ซึ่งทั้งสองส่วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำเคลื่อนการศึกษาในส่วนนี้ ความคิดเห็นต่อการศึกษาแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 3.95) และตามหลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.05) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ใช้หลักวงจร PDCA มีการวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ต้องคำนึงถึงว่าสำนักเรียนแต่ละสำนักมีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกัน มีการประชุมวางร่วมกันทุกสำนักเรียนในจังหวัดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตั้งกองทุนการศึกษาสนับสนุนในด้านปัจจัยที่แน่นอนชัดเจน เจ้าสำนักจะต้องให้ความสำคัญปฏิบัติงานร่วมกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในทุกกระบวนการ ตรวจสอบการปฏิบัติงานหาเมื่อเกิดข้อบกพร่องต้องรีบแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาให้การทำงานขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. นำเสนอแนวทางการศึกษาแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดชลบุรี แนวทางการสร้างแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ใน 4 ด้าน 1) ความตั้งใจ 2) ความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง 3) ความตั้งใจ 4) ความพึงพอใจ และเชื่อมโยงไปยังปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ตามวงจร PDCA ร่วมกัน 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การตรวจสอบ 4) การปรับปรุงแก้ไข เชื่อมโยงกับหลักพุทธธรรมอิทธิบาท 4 ร่วมกัน 1) ฉันทะ 2) วิริยะ 3) จิตตะ 4) วิมังสา ที่นำมาใช้ในการสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียนโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการมองเห็นประโยชน์ของการศึกษาร่วมกันช่วยเหลือเกื้อกูลสนับสนุนปัจจัยในทุกด้าน สร้างความเชื่อมั่นว่าการศึกษาไม่ว่ารูปแบบใดก็ตามจะสามารถพัฒนาชีวิตของตนให้ดีขึ้นได้
References
Banchayuth Nakmoodjalin. (2013). A form of development of Satisfied Religious heirs in Buddhism (Doctor of Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Chatchai Thamkhonburi. (2013). Human Resource Development in Accordance With The Buddhist Guidelines of The Royal Award Winning Schools (Doctor of Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Education fund National Buddhism Office. (2010). Award Ceremony for Outstanding Buddhist Scriptures, Academic Year 2009. Bangkok: National Buddhism Publishing House.
Kasetchai Laeheem. (2007, Jul. - Sep). Predicting Factors for Academic Achievement of Islamic Privates School Students’ in the Three Southern Border Provinces of Thailand. Songklanakarin J. of Social Science & Humanities, 13(3): 435-453.
Phra Maha Amnat Pawatthano. (Phanpanya). (2014). The Development of The Educational Management Model of The Buddhist Scriptures (Doctor of thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phramaha Arnon Cayanando (Legdee). (2015). Administration of Phrapariyattidhamma School, Pali Division: Problems, Trends and Development Strategies (Doctor of Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Pitchayapa Yuenyaw. (2009). The Model of Human Resource Management in Higher Education Institutes (Doctor of Thesis). Graduate School: Silpakorn Univetsity.
The Secretariat of the Council of Education (2010). National Education Department, Revised 2009 - 2016: Summary. Bangkok: Prik Wanwan Graphic Company Limited.
Thanoo Srithong and others. (2006). A Study of the Atmosphere and Contents of Learning and Teaching of Phrapariyattidhamma School of Dhamma Curriculum in the Eleventh Regional Sangha’s Administration (Research Report). Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Surin Campus.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น