ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์โดยภาคเอกชน เพื่อสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
ศักยภาพ,ทรัพยากรมนุษย์,นวัตกรรม,ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของศักยภาพในทรัพยากรมนุษย์โดยภาคเอกชน 2) เพื่อศึกษาบทบาท คุณลักษณะที่เป็นปัจจัยในการสร้างศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ต่อการเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อสร้างนวตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 ของทรัพยากรมนุษย์โดยภาคเอกชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 24 คน เพื่อสำหรับการหาลักษณะร่วม และข้อสรุปร่วม เพื่อหาความเป็นไปได้ของการสร้างตัวแบบศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์โดยภาคเอกชน เพื่อสร้างนวตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 และการสร้างกระบวนการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยนำรูปแบบกลับไปใช้ปฏิบัติการ
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพทั่วไปของศักยภาพในทรัพยากรมนุษย์โดยภาคเอกชน พบว่าจุดแข็งที่ต้องพัฒนามาก ได้แก่ การสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม ,จุดอ่อนที่ต้องพัฒนามากที่สุด ได้แก่ การไม่มีระบบการบริหารความรู้ ,โอกาสที่ได้แก่ การเติบโตของตลาด และอุปสรรค ได้แก่ การเข้าสังคมสูงผู้อายุ
2.บทบาท คุณลักษณะที่เป็นปัจจัยในการสร้างศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ต่อการเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 พบว่า บทบาทที่เป็นปัจจัยในการสร้างศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การบริหารแบบมีส่วนร่วมการปรับทัศนคติและการสื่อสารในองค์กร ซึ่งมีปริมาณถึงร้อยละ 87.50
3.นวตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 ของทรัพยากรมนุษย์โดยภาคเอกชน พบว่า การสร้างกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างนวัตกรรมอย่างยั่งยืนที่จะต้องประกอบไปด้วย การสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่เต็มไปด้วยความสนุก ก่อให้เกิดบรรยากาศในการทำงานที่ทุกหน่วยงานเคารพการมีภาวะผู้นำ ด้วยการผ่านการสร้างการยอมรับในกลุ่มบุคคลผู้ปฏิบัติงาน สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ขององค์กร ภายใต้การทำงานด้วยบรรยากาศของมิตรภาพ การรับผิดชอบต่อสังคม รวมไปถึงการรักษาสภาพแวดล้อมให้ยั่งยืน ดังสมการ 3 Fs = Fun + Full + Friend
References
Arporn Phuvittayaphan. ( 2008 ). Behavioval Competency Dictionary. Bangkok : HR Center publisher.
Arpornrat Thongnoppakun. (2006) . Needs Analysis in Human Resource Development in Environmental Organization : The case study for worker in Pollution Control Department. ( Graduate school , National Institute of Development Administration ).
Boonton Dockthaisong. (2008).Human Capital Management.Bangkok : Tantawan publisher.
Busakorn Wattahanbut. ( 2011 ) . Buddhism Epistemology and KSM Approach for Human Capital Development in Public Corporation. Doctor of Public Administration ( Graduate school , Valaya Alongkorn Rajabhat University under the royal patronage ).
Nissada Vechjanont. ( 2011 ) . New dimension in Human Capital Management. 3rd edition : Bangkok , DK Printing world Co,Ltd.
Surawut Yunyaluk. ( 2007 ). Competency development for high effectiveness organization government teacher and education staff in fundamental education school. ( Graduate school , Kasetsart University ).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น