การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบการจัดการอาชีวศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2.การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยใช้เทคนิคเดลฟายสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 ท่านด้วยวิธี Snowball Sampling และแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 94 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.816
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารและ ครูในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือเป็นต้นแบบสถานศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโรยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 395 คนสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยมฐานค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1.องค์ประกอบการพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาประกอบด้วย4 องค์ประกอบดังนี้1.ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจ 2.ด้านการนำสู่การปฏิบัติ 3.ด้านการประสานความร่วมมือ 4.ด้านการติดตามประเมินผล
2.ผลประเมินรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผลประเมิน พบว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการนำสู่การปฏิบัติ มีความสำคัญมากที่สุดเป็นลำดับแรก รองลงมาได้แก่ ด้านการติดตามประเมินผลด้านการประสานความร่วมมือ และ ด้านการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ตามลำดับ
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง,สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
References
Ajarawan Chaiyakaln.(2012).Application of Sufficiency Economy Philosophy in Schools under the Office of Chiang Rai Provincial Primary Education Area 3:A case study of Ban San Rong School, Mae Chan District, Chiang Rai Province, May 12, 2013.
https://www.mfu.ac.th/school/liberalarts.../2555_17.pdf
Atiporn Thonglor. (2010).Management of sufficiency economy philosophy in schools
under the office Surin Educational Service Area.Surin: Boromarajonani College of Nursing Surin.
Bunjadnon thamarn and term. (2008).Management of education based on economic
philosophy Sufficiency of schools in Ngao District, Lampang Province.
Lampang : Self-studyMaster of Education Program in Educational Administration, Naresuan University.Calkins, Peter(2009).”Sufficiency Economy Matrices : Multi-Period Optimization for Local Development Planners. ”Jourmal of Economics and
Management ,5 (2).305-332.
Chaijairin Chaivisit.(1996).Participatory Action Research to Enhance Values Based on Sufficiency Economy Concepts for Students and Communities.Chiang Mai:
Master Thesis, Graduate School, Chiang Mai University.
Education, Ministry.(2009).Guidelines for Sufficiency Economy Supervision.Bangkok: Bureau of the Permanent Secretary.
National Economic and Social Development Board, Office(2001).National Economic and Social Development Board No. 11(2012–2016).Bangkok:The Prime Minister.
National Economic and Social Development Board, Office of the National Economic and Social Development Board, Office.(2016).Draft National Economic and Social Development Plan No.12(2017-2021).Bangkok :The Prime Minister.
RapeephanKanarit.(2011).School administration according to Sufficiency Economy
Philosophy Under the Office of PathumThani Primary Education Area 2.Master Thesis Master of Education Program in Educational Technology Managemen Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
Sakornrat Kamutamas(2007).School Administrators’ Working Performance Through
the Sufficient Economy Theory : A Case Study. UbonRatchathani : Northeast Polytechnic College.
The Prime Minister.(2016).National Strategic Framework for 20 Years (2017-2036) (Summary).Bangkok:The Prime Minister.
Thitimal Thongpim.(2008).The use of the Sufficiency Economy Philosophy in the Learning Management of TeachersChiang Mai Agricultural and Technology College.Chiang Mai:Independent StudyGraduate School, Chiang Mai University.
Vocational Education Act.(2008).Government Gazette,125(43),1-24.
Vocational Education Commission, Office.(2009).The Office of the Vocational Education Commission . (2009).Bangkok:Management System Development Group.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น