บทบาทของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมใน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
คำสำคัญ:
บทบาทของกระทรวงดิจิทัล, การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์, เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่มีผลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจดิจิทัลถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 3) เพื่อศึกษาถึงแนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มุ่งที่จะศึกษาบทบาทของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่ม, รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสังเกตผลการวิจัยมีข้อค้นพบโดยสรุป ดังนี้
ประการแรก ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลโดยภาครัฐจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างกำลังคนทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเป็นระบบในลักษณะของการบูรณาการ โดยการเตรียมความพร้อมทางด้านกำลังคนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการระหว่างกระทรวงในการใช้ข้อมูลสารสนเทศร่วมกัน
ประการที่สอง ต้องเริ่มจากการปฏิรูประบบโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของประเทศไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
หรือการใช้งานโครงข่ายที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อมาลดช่องว่างในการเข้าถึงและการใช้งานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลระหว่างประชาชนในเมืองและประชาชนในพื้นที่ห่างไกลในการนี้ภาครัฐต้องร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อทำให้การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นไปอย่างทั่วถึง เช่น การขยายฟรี Wi-Fi ประชาชนทุกคนจะสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
ประการที่สาม ต้องมีการปรับแก้กฎหมายและกฎข้อระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพราะหากยังไม่มีการปรับแก้ในลักษณะดังกล่าว การเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลดิจิทัลจะเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้การปรับแก้กฎหมายและกฎระเบียบเพื่อให้รัฐบาลดิจิทัลสามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยดีนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ต้องแก้กฎหมายและกฎระเบียบทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเท่านั้นแต่ยังต้องมองไปถึงกฎหมายและกฎระเบียบด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตซึ่งต้องมีการทบทวนข้อกฎหมายที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศไปพร้อม ๆ กัน
และประการที่สี่ ปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงานของภาครัฐ ให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมในลักษณะข้ามกระทรวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันในลักษณะที่เป็นองค์รวม แทนที่จะการทำงานแบบแยกส่วนดังที่เคยปฏิบัติในช่วงที่ผ่านมาเพื่อให้กลไกต่าง ๆ การเตรียมความพร้อมในการทำงานร่วมกันระหว่างข้อมูลภาครัฐต่อภาครัฐในการเอื้อข้อมูลและส่งเสริมระบบการทำงาน จะทำให้สามารถทำงานได้อย่างสมดุลและมีประสิทธิภาพ โดยมีการทำงานร่วมกันหรือเชื่อมโยงข้อมูลที่สำคัญระหว่างหน่วยงานซึ่งกันและกัน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น