การพัฒนาการจัดการความรู้เชิงพุทธเพื่อการบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในเขตภาคเหนือตอนบน
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การจัดการความรู้, เชิงพุทธบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการจัดการความรู้ของ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในเขตภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการการ
จัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในเขตภาคเหนือตอนบน และ 3) เพื่อเสนอ
รูปแบบการพัฒนาการจัดการความรู้เชิงพุทธเพื่อการบริหารของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช-
วิทยาลัย ในเขตภาคเหนือตอนบน
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพทั่วไปของการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในเขต
ภาคเหนือตอนบน มีการใช้หลักการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมและวงจรควบคุมคุณภาพเดมมิ่ง
เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและความสาเร็จด้านการพัฒนาการจัดการความรู้ ซึ่งขึ้นอยู่กับ
หลักการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม และเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการความรู้ โดยมหาวิทยาลัย
ใช้กระบวนการจัดการความรู้ 7 ประการ ประกอบด้วย 1) การบ่งชี้ความรู้ 2) การสร้างและแสวงหาความรู้
3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5) การเข้าถึงความรู้ 6) การแบ่งปัน
แลกเปลี่ยนความรู้ 7) การเรียนรู้ ส่วนการนาหลักพุทธธรรมมาปรับใช้กับกระบวนการจัดการความรู้มี
การนาหลักธรรมเข้ามาใช้อย่างหลากหลาย เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรค และสนับสนุนแนวทางในการ
พัฒนาการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย
2) ความคิดเห็นต่อการพัฒนาการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 3.61
อยู่ในระดับมาก ส่วนระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารองค์กรเพื่อพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้
โดยรวม มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 3.58 อยู่ในระดับมาก ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและการบริหาร
องค์กรเพื่อพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้พบว่ามีปัจจัย 4 ด้านที่มีความสัมพันธ์กันสูง เรียงตามลาดับ
คือ ปัจจัยด้านการเรียนรู้ ปัจจัยด้านการเข้าถึงความรู้ ปัจจัยด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ และปัจจัย
ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
3) รูปแบบการพัฒนาการจัดการความรู้เชิงพุทธเพื่อการบริหารของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัยในเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า การพัฒนาการจัดการความรู้มีกระบวนการ 4 ด้าน ที่
โดดเด่น คือ 1) กระบวนการสร้างและแสวงหาความรู้ ด้วยหลักปรโตโฆสะและวุฒิธรรม 4
2) กระบวนการการเข้าถึงความรู้ ด้วยหลักจักร 4 3) กระบวนการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ด้วยหลัก
กัลยาณมิตร 7 และ 4) กระบวนการการเรียนรู้ ตามหลักไตรสิกขา ปัจจัยทั้ง 4 เป็นส่วนสาคัญต่อการ
พัฒนาการจัดการความของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในเขตภาคเหนือตอนบน
References
Nurse Ratchathani University (Doctor of Thesis). Administration and
Development Studies. Graduate School: Mahasarakham University.
Chinnawat Satsananan. (2013).Effectiveness of Knowledge Management in Rajabhat
Universities in Thailand. Thesis Postdoctoral Philosophy Department of
Management. Graduate School: Siam University.
Chumsak Intarak. (2009). Promoting and Developing Innovative Teaching Network
of Teachers and Educational Personnel to Improve the Quality of
Learners (Research Report). Faculty of Education: Prince of Songkla
University.
M. Alavi. and D.E.Leidner.(2001), Review: Knowledge Management and Knowledge
Management System : Conceptual Foundations and Research Lssues.
Mis Quarterly. Vol.27 January.
Nualla-Or Saengsuk. (2007). A Study of Knowledge Management of Ramkhamhaeng
University (Doctor of Thesis). Graduate School: Ramkhamhaeng University.
Orrasa Kaewsarathee. (2011). Development of Indicators of Organizational Learning
of Basic Education Institutions Under Local Administration (Doctor of
Philosophy Thesis). Educational Administration. Graduate School:
Valaya Alongkorn Rajabhat University.
Wichan Panij. (2006). Knowledge Management Practitioner Edition. 3rd edition.
Bangkok: The Subhaphapjai Press.
Woradach Chantason. (2003).Knowledge Management: A Quality Cycle. Bangkok:
The Phaphpim Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น