ชุมชมชาวจีนก๊กมินตั๋งในพลวัตความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์บนดอยแม่สลอง

Main Article Content

ซิยู วู
มาลี สิทธิเกรียงไกร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การสร้างเครือข่ายทางสังคมของชาวจีนก๊กมินตั๋ง 2) วิเคราะห์การสะสมทุนของชาวจีนก๊กมินตั๋งในหมู่บ้านสันติคีรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัยเป็นประชากรของหมู่บ้านสันติคีรีจำนวน 45 คน แบ่งเป็นชาวจีนก๊กมินตั๋งจำนวน 30 คน และชาวอาข่าจำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น    แบบสัมภาษณ์ชาวจีนยูนนานก๊กมินตั๋งบนดอยแม่สลอง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการตอบแบบสัมภาษณ์ชาวจีนยูนนานก๊กมินตั๋งบนดอยแม่สลอง


ผลการวิจัยพบว่า 1) ชาวจีนก๊กมินตั๋งมีการสร้างเครือข่ายทางสังคมภายใต้รัฐไทย โดยมีความช่วยเหลือจากไต้หวันและจีน อันจะนำไปสู่การสะสมทุนของชาวจีนก๊กมินตั๋งของแต่ละรุ่น กระบวนการก่อตั้งกลุ่มชาติพันธุ์นี้ มีการเปลี่ยนผ่านจากผู้ลี้ภัยสู่การได้รับสัญชาติไทยอย่างถูกกฎหมาย การสร้างเครือข่ายทางสังคมของชาวจีนก๊กมินตั๋งแบ่งเป็น 3 รุ่น รุ่นที่ 1 เน้นความสามัคคีกันภายในกลุ่ม รุ่นที่ 2 เริ่มมีการสร้างเครือข่ายทางสังคมภายนอก ทั้งไต้หวัน ไทย และจีน มีการเปลี่ยนทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นทุนทางเศรษฐกิจ สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์อื่น รุ่นที่ 3 มีกระบวนการขัดเกลาทางสังคมทำให้บูรณาการเข้ากับสังคมไทยมากขึ้น อีกทั้งยังสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ใหม่อีกด้วย 2) สำหรับการวิเคราะห์การสะสมทุนและการใช้ทุน พบว่ามีการสะสมทุนทางสังคม 3 รูปแบบ คือ ทุนวัฒนธรรม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางสังคม โดยรุ่นที่ 1 มีการสะสมทุนในรูปแบบที่ดิน เริ่มพัฒนาการเกษตร แต่ยังไม่ได้เปลี่ยนเครือข่ายสังคมเป็นทุนทางเศรษฐกิจ รุ่นที่ 2 ไต้หวันให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา การเกษตร และการท่องเที่ยว ส่งผลให้สะสมทุนได้มากยิ่งขึ้น และยังรวมถึงความสัมพันธ์กับชาติพันธุ์อาข่า ทำให้สร้างเครือข่ายทางสังคม และส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยว เปลี่ยนทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นทุนทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ รุ่นที่ 3 ส่วนใหญ่มีการโยกย้ายไปยังเมืองใหญ่ เนื่องจากต้องการพัฒนาด้านการศึกษาและการทำงานที่สามารถสะสมทุนได้มากกว่าการทำงานที่แม่สลอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Auansakul, Pannee. (1995). Chinese Traders and Thai Groups in the Rice Business. Southeast Asian Journal of Social Science, 23(1), 29-42.

Bourdieu, P. (1977). Cultural Reproduction and Social Reproduction. New York: Oxford University Press.

Bourdieu, P. (1997). The Forms of Capital. New York: Oxford University Press.

Bo, yang. (1985). War Novel. Taipei: Xingguang.

Bunnag, R. (2016). Division 93 of the Mintang Kingdom Remained until It Took Root in Thailand.Retrieved February 15, 2024, from https://mgronline.com/onlinesection/detail/9590000003890

Chang, W-C. (2000). From War Refugees to Immigrants: The Case of the KMT Yunnanese Chinese in Northern Thailand. The International Migration Review, 35(4), 1086-1105.

Duan, Ying. (2008). Kuomintang Soldiers and their Descendants in Northern Thailand: An Ethnographic Study. Journal of Chinese Over-seas, 4(2), 238-257.

Hill, A. M. (1998). Merchants and Migrants: Ethnicity and Trade among Yun-nanese Chinese in Southeast Asia. New Haven: Yale University Southeast Asia Studies.

Highland Research and Development Institute, Mae Salong Royal Project. (2019) Population Economic and Social Information. Retrieved February 29, 2024, from https://web2012.hrdi.or.th/xtrp/basicinfo/social/595

Prakadwuttisan, K. (2003). Chinese Soldiers from the Kuomintang Nationalist Party Are Stranded in Northern Thailand. Chiang Mai: Siam Rattana Printing.

Roosens, Eugeen. (1989). Creating Ethnicity: The Process of Ethno-genesis. London: Sage Publications.

Taylor, R. H. (1973). Foreign and Domestic Consequences of the KMT Intervention in Burma, Ithaca. New York: Dept of Asian Studies, Cornell University.