การพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนวัดใหม่ (ยายแป้น) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

สุนทร วิภาภรณ์พรรณ
อดุลย์ ขันทอง

บทคัดย่อ

การวิจัย “การพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนวัดใหม่ (ยายแป้น) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยพุทธสันติวิธี” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ผู้วิจัยได้นำกระบวนการไปปฏิบัติจริงในพื้นที่เป้าหมาย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความต้องการและแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนวัดใหม่ (ยายแป้น) 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนวัดใหม่ (ยายแป้น) 3) เพื่อเสนอการพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนวัดใหม่ (ยายแป้น) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพบริบทของพื้นที่วิจัยมีโอกาสเกิดความขัดแย้งสูงการแก้ปัญหาแบบเดิมใช้วิธียุติข้อพิพาทภายในชุมชนโดยกลุ่มผู้นำชุมชนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดังกล่าวแต่ผลตามข้อตกลง ไม่มีสภาพบังคับได้ตามกฎหมายเนื่องจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีกฎหมายรับรองผลตามข้อตกลงจะต้องได้รับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจากผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐโดยมีหน่วยงานเป็นผู้ดำเนินการ ชุมชนมีความต้องการให้มีหน่วยงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชนจึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 เพื่อให้การจัดการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีผลรับรองตามกฎหมาย มีแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาองค์กรมาบูรณาการการพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนวัดใหม่ (ยายแป้น) โดยการสร้างขึ้นใหม่ใช้แนวคิดการบริหารจัดการองค์กร พัฒนาบุคคลากรเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน 2) การนำหลักสาราณียธรรม 6 คือหลักการอยู่ร่วมกันในสังคมซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ต้องมีหลักเกณฑ์และมีระเบียบในการอยู่ร่วมกัน อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการศูนย์และพัฒนาการไกล่เกลี่ยได้อย่างเหมาะสม 3) กระบวนการพัฒนา 5 ขั้นตอนได้แก่ (1) รวมกลุ่ม (2)ยกระดับ (3) ปรับกระบวนการ (4) ขับเคลื่อนภารกิจ (5) สืบสานรักษา นำไปสู่เป้าหมาย วัด 6 ประการคือ วัดบูรณาการ วัดมุ่งมั่น วัดไกล่เกลี่ย วัดมุ่งสู่ความจริง วัดตื่นรู้ วัดปัญญา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buranasing, T., Phramaha Hansa Dhammahaso, & Phra Pramote Vadakovito. (2020). A Judicial Public Mediation Model for People by Buddhist Peaceful Means: Case Study of Sawai Sub-district, Prang Ku District, Sri Sa Ket Province. Journal of MCU Peace Studies, 8 (Sup), S147-S160.

Chueathai, S. (1967). General Legal Knowledge. (2nd ed.). Bangkok: Winyuchon Publication House.

Duangkiao, T. (2023). The Development of Wat Mai (Yai Paen) Public Sector Mediation Center, Bangkok Noi District, Bangkok, Based on Buddhist Peaceful Means. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Khantahirun, U. (2022). A Model of the Management of Public-sector Dispute Mediation Center by Buddhist Peaceful Means: A Case Study of Public-sector Mediation Center, Sawai Subdistrict, Prangku District, Sisaket Province. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Khantahirun, U., Phrakhrupalhad Paññavorawat, & Phrakhrupalhad Adisak Vajirapañño. (2022). A Model of the Management of Public-sector Dispute Mediation Center by Buddhist Peaceful Means: A Case Study of Public-sector Dispute Mediation Center, Sawai Subdistrict, Prangku District, Sisaket Province. Journal of MCU Peace Studies, 10(6), 2549-2665.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2003). Dictionary of Buddhism. Retrieved January 31, 2023, from https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=287

Phra Phakawit Paññajāto, & Phra Pramote Vadakovido. (2022). The Value and Importance of Villages, Temples, and Schools towards the Development of Public Sector Dispute Mediation Center: A Case Study of the Public Sector Dispute Mediation Center in Sawai Subdistrict, Prangku District, Sisaket Province. Journal of MCU Peace Studies, 10(2), 652-664.

Prachaya, V. (2012). The Trend of Globalization and the Problems of Thai Society, Teaching Documents for the Subject Thai and World Society. (15th ed.). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

Pratheuangrattana, C. (2019). The Public Sector Dispute Mediation according to the Mediation Act according to the Mediation Act in 2562 B.E. (A.D. 2019): Opportunities in B.E. 2562 (A.D. 2019): Opportunities and Challenges and Challenges. Journal of Thai Justice System, 3, 9-12.

Rosthip, C. (2023). The Development of Wat Mai (Yai Paen) Public Sector Mediation Center, Bangkok Noi District, Bangkok, Based on Buddhist Peaceful Means. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Sanguthai, Y. (1975). Principles of Jurisprudence. Bangkok: Thammasat Printing House.

Thailand Institute of Justice. (2015). Diversion of Cases and Offenders. Bangkok: Academic Seminar.

Thapvongse, C. (2019). Mediator Handbook. (3rd ed.). Bangkok: Saeng Chan Press Limited Partnership.