การพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัยสู่ชิ้นงานนวัตกรรมสร้างสรรค์

Main Article Content

กมลวรรณ อังศรีสุรพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบกระบวนการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัยสู่ชิ้นงานนวัตกรรมสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมโดยสถานศึกษา 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบกระบวนการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัยสู่ชิ้นงานนวัตกรรมสร้างสรรค์ 3) ประเมินชิ้นงานนวัตกรรมสร้างสรรค์ ของผู้เรียนระดับชั้นอนุบาลเป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2-3 โรงเรียนวัดบำเพ็ญบุญ และโรงเรียนวัดจันทน์ จำนวน 61 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ dependent samples


ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพขององค์ประกอบขั้นตอนรูปแบบกระบวนการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัยสู่ชิ้นงานนวัตกรรมสร้างสรรค์ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น มีค่าเฉลี่ยของค่าคุณภาพจากแบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัย และเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 6 คน โดยรวมเห็นว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} =4.78, S.D.= 0.35) 2) การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนในระดับชั้นการศึกษาปฐมวัย อนุบาล 2-3 โรงเรียนวัดบำเพ็ญบุญ และโรงเรียนวัดจันทน์ อบหลังเรียนของนักเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการประเมินชิ้นงานนวัตกรรมสร้างสรรค์ ของผู้เรียนระดับชั้นอนุบาล 2-3 โรงเรียนวัดบำเพ็ญบุญ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.065 (S.D.= 0.64) และผลการประเมินชิ้นงานนวัตกรรมสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับชั้นอนุบาล 2-3 โรงเรียนวัดจันทน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.90 (S.D.= 0.73)

Article Details

How to Cite
อังศรีสุรพร ก. (2024). การพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัยสู่ชิ้นงานนวัตกรรมสร้างสรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(2), 495–506. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/274585
บท
บทความวิจัย

References

Angsrisurapon, K. (2023). Development of a Process Model for Organizing Learning Experiences to Develop Computational Thinking Skills for Early Childhood Children towards Creative Innovative Products. Bangkok: Research and Development Institute Chandrakasem Rajabhat University.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2018). Computational Science Learning Management Curriculum for Advanced Teachers C4T Plus. Retrieved May 3, 2013, from https://oho.ipst.ac.th/category/discipline/วิทยาการคำนวณ/

Ministry of Education. (2022). Guidelines for Organizing Active Learning (Active Learning) at the Early Childhood Level. Bangokok: Office of Academic and Educational Standards Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education.

Niyomchai, P., & Raksaphongphanich, T. (2023). Coding Program for Problem Solving in Young Children. Journal of MCU Ubon Review, 8(2), 399-408.

Office of the Education Council. (2018). Guidelines for Raising, Caring for, and Developing Early Childhood Children According to Competency to Increase the Quality of Children According to Age 0-5 Years. Bangkok: Phrik Wan Graphic Company Limited.

Pankaew, A. (2015). Development of the Click Teaching Model to Promote Intellectual Crystallization Ability for Undergraduate Students Field of Early Childhood Education. (Doctoral Dissertation). Graduate School Srinakharinwirot University. Bangkok.

Sophonpanich, K. (2021). Khunying Kanlaya Sophonpanich: Create ‘Coding’ To Cope with Every Change. Retrieved May 3, 2013, from https://www.matichon.co.th/politics/special-interview/news_3124407

Su, J., & Yang, W. (2023). A Systematic Review of Integrating Computational Thinking in Early Childhood Education.Retrieved May 3, 2013, from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2666557323000010?via=ihub