รูปแบบการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Main Article Content

พระครูวิกรมธรรมธัช ปิยธมฺโม (คัมภีรวรธรรม)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครซี่ มอร์แกน รวมจำนวนทั้งสิ้น 198 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว รองลงมา คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล เงื่อนไขคุณธรรม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ เงื่อนไขความรู้ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว รองลงมา คือ ด้านความพอประมาณ ด้านเงื่อนไขความรู้ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความมีเหตุผล และสรุปความต้องการจำเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ได้แก่ 1) ด้านความพอประมาณ 2) ด้านการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว 3) ด้านเงื่อนไขความรู้ 4) ด้านเงื่อนไขคุณธรรม 5) ด้านความมีเหตุผล 2. ข้อเสนอแนะรูปแบบการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนักศึกษาควรใช้จ่ายอย่างประหยัดให้เหมาะสมกับรายรับที่ได้มา ไม่ฟุ่มเฟือยเกินฐานะของตน ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น วางแผนและพิจารณาถึงความจำเป็นในการใช้จ่ายอย่างเหมาะสมละเอียดรอบคอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bunpanyaroj, S. (2007). Consumerism among Thai Teenagers: Factor Driving Thai Society. Ramkhamhaeng University Journal Humanities Edition, 27(1), 1-11.

Chitchirachan, Ch. (2015). A Model Development of Application of the Philosophy of Sufficiency Economy for Self-study Development of Students of the Higher Education Institutions in the Northeastern Region. (Research Report). National Research Council of Thailand (NRCT). Bangkok.

Mahamakut Buddhist University Roi Et Campus. (2020). Self-assessment Report Year 2020. Roi Et: Mahamakut Buddhist University Roi Et Campus.

Ministry of Social Development and Human Security. (2017). Family Institute Development Policy and Strategy 2017-2021. Bangkok: Office of Women's Affairs and Family Institutions, Ministry of Social Development and Human Security.

Phrakru Kosonsutkit. (2010). Application of the Sufficiency Economy Philosophy in the Daily Life of Civil Servant Teachers, Na Yong District, Trang Province. (Master's Thesis). Mahamakut Buddhist University. Nakhon Pathom.

Punya-apiwong, K. (2014). Life Skills for Self-determining Based on Sufficiency Economic Philosophy of Bachelor’s Degree Student in Silpakorn University. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Bangkok.

Sidadet, M. (2020). Effectiveness of the Administration of Affiliated Sufficiency Educational Institutions, Area Office Secondary Education, Area 22. (Master’s Thesis). Sakon Nakhon Rajabhat University. Sakon Nakhon.

Srisa-at, B. (2002). Basic Research. (7th ed.). Bangkok: Suviriyasan.

Thepsittha, S. (2007). Living a Life of Sufficiency Economy Community and Economic Concepts Sufficiency: Sufficiency Economy Philosophy in the Context of Religion and Culture. Bangkok: Somchai Publishing.