การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

พระครูปลัดสุริยะ ชวนปญฺโญ (ศรีสุระ)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 114 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ มีค่า IOC เท่ากับ 0.67-1.00 ความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทั้งสี่ด้าน เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารราชการ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจการงาน ด้านการปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการ และด้านการปฏิบัติหน้าที่ในประชาชน ตามลำดับ 2) บุคลากรเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ ควรประยุกต์หลักวิมังสา ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร เพื่อให้เกิดความพยายามปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ต่อประชาชนให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ควรประยุกต์หลักจิตตะ ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร เพื่อให้เกิดการเอาใจใส่จดจ่อ จริงจังอยู่กับการปฏิบัติหน้าที่การให้บริการอยู่เสมอ ควรประยุกต์หลักวิริยะ ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร เพื่อให้เกิดความขยันมั่นเพียร และอดทนต่อการปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจการงานที่ได้รับมอบหมาย มากยิ่งขึ้น และควรประยุกต์หลักฉันทะ ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร เพื่อการมีใจรักในสิ่งที่ทำใจที่รักอันเกิดจากความศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิ่งที่ทำ จึงจะเกิดผลจริงตามควร 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Naewchampa, Ch. (2009). Application of the 4 Iddipadas in the Performance of Duties by Personnel of the Office of Disaster Prevention and Mitigation, Bangkok. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Office of Education Bangkok, Office of Educational Strategy. (2017). Summary of the Follow up on the Standard Quality of Schools under the Bangkok Metropolitan Administration (SMART School). Bangkok: Printing House, Agricultural Cooperative Assembly of Thailand.

Phra Dhammakosajarn (Paññā Nandabhikkhu). (2002). A Happy Life, There Is No Happiness Greater than Peace of Mind. Bangkok: Graduate School Mahidol University.

Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (2003). Dictionary of Buddhism (Vocabulary Version). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Rueangdet Chotithammo. (2019). Thai Economy in the Era of Globalization. Vanamdanghraek Buddhist Journal Periscope, 6(2), 109-126.

Phra Thawin Yasindharo (Saengsud). (2015). The Application of Buddhism’s Four Paths of Accomplishment (Iddhipada) to Personnel’s Work Performance at Tambon Nong Phok Administrative Organization in Nong Phok District, Roi Et Province. Academic Journal of Mahamakut Buddhist University Roi Et Campus, 4(1), 104-118.

Phrapalad Saichon Jittakaro (Atpaksa). (2011). Personnel Management of the Subdistrict Administrative Organization in Kamphaeng Saen District, Nakhon Pathom Province, According to the Principle of Iddhipada 4. (Master’s Thesis). Graduate School, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Pisanbut, S. (2008). Business Research. Bangkok: Witthayapat Company Limited.