รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักพุทธจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

Main Article Content

พระโสภณวชิรวาที (อาทิตย์ อตฺถเวที)
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
สิริวัฒน์ ศรีเครืองดง
วิชชุดา โชติฐิติรัตนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการแนวคิดการเผยแผ่พุทธศาสนาและองค์ประกอบเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) 2) เพื่อศึกษารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักพุทธจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิต 3) เพื่อศึกษาผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิต 4) เพื่อเสนอรูปแบบการเผยแผ่พุทธศาสนาตามหลักพุทธจิตวิทยา   ของพระพรหมบัณฑิต เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และออกแบบ       การสังเกตวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักพุทธจิตวิทยา ด้วยวิธีวัดผลทัศติที่มีต่อการเผยแผ่ก่อนและหลังในการฟังเสร็จแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป


ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักพุทธจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ประกอบด้วยการเตรียมความพร้อมของผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา มีความรู้หลักพุทธธรรมพระไตรปิฎกให้แตกฉาน มีการฝึกปฏิบัติให้เห็นแจ้งในหลักธรรมที่ศึกษามา มีการวางแผนช่วยเหลือเกื้อกูลมนุษย์และสังคม และวิธีการทางพุทธจิตวิทยาการเผยแผ่ 4 ประการ 1) สันทัสสนา แจ่มแจ้ง 2) สมาทปนา จูงใจ 3) สมุตเตชนา แกล้วกล้า 4) สัมปหังสนา ร่าเริง 2. รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพรหมบัณฑิต มี 3 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมความพร้อมของผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา 2) ปฏิบัติการเผยแผ่ อาศัยหลักธรรมที่เอื้อและสอดคล้องกับหลักจิตวิทยาเพื่อการจัดการเรียนรู้ 3) การหวังผลด้านสังคหธุระ ผลประโยชน์ต่อประชาชน และสิ่งแวดล้อม 3. ผลการของเผยแผ่พระพุทธศาสนา พบว่า ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจหลักธรรมคำสอน มีความศรัทธาพระพุทธศาสนา และนำไปปฏิบัติได้ในชีวิต 4. รูปแบบการเผยแผ่พุทธศาสนาตามหลักพุทธจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิตเป็นไปตามโมเดลรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร.(ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

Article Details

How to Cite
(อาทิตย์ อตฺถเวที) พ. ., เอี่ยมสุภาษิต ส. ., ศรีเครืองดง ส. . ., & โชติฐิติรัตนา ว. . (2023). รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักพุทธจิตวิทยาของพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(6), 2363–2378. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/272028
บท
บทความวิจัย

References

Buddhism Dissemination Center of Wat Prayurawongsawas. (2006). Academic Sermon. Bangkok: 3 Lada Limited Partnership.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Nakor, C. (2019). A Study of the Self-development Model towards Success Based on the Buddhist Psychology of Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto). (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phra Brahmadpundit (Prayoon Dhammacitto). (2022). Professor Doctor. Interview. October 10.

Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto). (2015). 61 Chapters of Dhammadesanā. Bangkok: 3 Lada Limited Partnership.

Phra Dhammakosajarn (Prayoon Dhammacitto). (2008). Method Salika Deshana of Preaching. Nonthaburi: Chen Printing Limited Partnership.

Phra maha Bodhiwongsajarn (Thongdee Suratecho). (2020). Desāna (Sermon) Methods. (4th ed.). Bangkok: Phanyamit Printing Company Limited.

Phra maha Phayak Kongphan. (2019). The Propagation of Buddhism Model of Evangelist to Be in Line with Thai Society. (Doctoral Dissertation). Burapha University. Chonburi.

Phra Theppatiphankawee (Boonma Āgompuñño). (2010). Preaching Monks in Honor of the 84th Birthday of His Majesty the King. Bangkok: 3 Lada Limited Partnership.

Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A. Payutto). (2021). Dictionary of Buddhism. Bangkok: Sahadhammika Company Limited.