รูปแบบการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

เจตนา พงษ์พยุหะ
สถิรพร เชาน์ชัย
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
วิทยา จันทร์ศิลา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2. เพื่อสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 3. เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การศึกษาองค์ประกอบ และแนวทางการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และสัมภาษณ์สถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง 2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาโดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างการพัฒนารูปแบบการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบฯ ด้วยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน และ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบกับผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน นักศึกษา และหัวหน้างานแนะแนวอาชีพและการจัดหางานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตภาคกลาง จำนวน 144 คน


ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบการแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย หลักการและวัตถุประสงค์ของการแนะแนว ขอบข่ายบริการงานแนะแนว คณะบุคคลในการดำเนินงานงานแนะแนว กระบวนการดำเนินงานงานแนะแนว และผลของงานแนะแนว 2. รูปแบบการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและวัตถุประสงค์การแนะแนวในสถานศึกษา 2) ขอบข่ายของงานแนะแนวในสถานศึกษา 3) คณะบุคคลในการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษา 4) กระบวนการดำเนินงานแนะแนวในสถานศึกษา และ 5) ผลผลิตการแนะแนวในสถานศึกษา 3. การตรวจสอบรูปแบบการบริหาร งานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาว่าเหมาะสม ส่วนผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
พงษ์พยุหะ เ. ., เชาน์ชัย ส. ., ชาตรูประชีวิน ฉ. ., & จันทร์ศิลา ว. . (2024). รูปแบบการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(2), 520–533. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/270039
บท
บทความวิจัย

References

Department of Employment. (2020). Strategies for Resolving and Preventing Labor Shortages. Retrieved June 19, 2022, from https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_ th/498391d8154f6237d5db6b423d5f1b85.pdf

Guidance Association of Thailand. (2016). Guidance Activity Learning Management. Bangkok: Printing House of the Agricultural Cooperatives Association of Thailand.

Manop, K. (2013). Model of Committee Management for Academic Affairs Development in Schools under the Office of Secondary Education Service Areas. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.

Niwat, N. (2011). Development a Model of Lab School Administration. (Doctoral Dissertation). Eastern Asia University. Bangkok.

Office of the Basic Education. (2008). Guideline for Organizing Guidance Activities according for the Core Curriculum Basic Education 2008. Bangkok: Printing House of the Agricultural Cooperatives Association of Thailand.

Office of the Education Council. (2017). National Education Development Plan C.E. 2017-2036. Bangkok: Office of the Education Council.

Office of the National of the Economic and Social Development Board. (2018). National Strategy C.E. 2018-2037. Bangkok: Office of the National of the Economic and Social Development Board.

Office of Vocational Education Commission. (2008). Vocational Education Act 2008. Bangkok: Office of Vocational Education Commission.

Office of Vocational Education Commission. (2009). Regulation of the Office of Vocational Education Commission on the Administration of Educational Institutions 2009. Bangkok: Office of Vocational Education Commission.

Office of Vocational Education Commission. (2014). Operating Manual Project to Reduce Dropout Problems of Vocational Learners. Bangkok: Office of Vocational Education.

Sakol, W. (2013). Guidance for Self-worth. Bangkok: Rayprint.

Sunisa, W. (2016). Principle of Guidance. Udonthani: Udonthani Rajabhat University.

Surin, K. (2015). A Model of Participatory Management through Governing Board for Promoting the Efficiency of the Primary Education Service Area Office. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.

Suwit, W. (2017). The Administrative Model in the Office of Academic Resources and Information Technology, Rajabhat University. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.

Wanadee, S. (2018). Vocational Education for the Country Development. Bangkok: Pimsayampraritas.