การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์แบบผสมผสานตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรม สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบฯ 2) พัฒนาบทเรียนรูปแบบฯ 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบฯ 4) รับรองรูปแบบฯ บทความวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 30 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและเนื้อหา จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เพื่อตรวจสอบคุณภาพและรับรองรูปแบบฯ เครื่องมือที่ใช้คือ 1) รูปแบบการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์แบบผสมผสานตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบฯ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู และ 4) แบบประเมินรับรองรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์แบบผสมผสานตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบฯ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ มีปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ผู้เรียน เนื้อหาการสอน ผู้สอน การออกแบบเครื่องมือ สภาพแวดล้อมการเรียนการสอน การประเมินผล และมีกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ (1) วิเคราะห์ผู้เรียน (2) กำหนดเนื้อหาบทเรียน (3) ออกแบบกิจกรรมของผู้เรียน (4) ออกแบบเครื่องมือและ (5) การประเมินผลรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผลผลิต คือ การสร้างนวัตกรรมของนักศึกษา 2) บทเรียนรูปแบบการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์แบบผสมผสานตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบฯ ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D.= 0.51) 3) ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์แบบผสมผสานตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบฯ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน หลังเรียนด้วยบทเรียนรูปแบบฯ สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนการสร้างนวัตกรรมผลงานของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D.= 0.54) 4) ผลการรับรองรูปแบบการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์แบบผสมผสานตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบฯ ที่รับรองโดยผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมากที่สุด ( = 4.60, S.D.= 0.52) สามารถนำไปใช้ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Boriwatanan, N. (2019). Development of Web Collaborative Learning Application Model Through Borderless Classroom to Enhance Information and Communication Technology Literacy for Higher Education Students. (Doctoral Dissertation). Kasetsart University. Bangkok.
Khlaisang, J. (2011). E-learning Book Project, Thai Cyber University Project, Principles of Educational Website Design: Theory to Practice. Bangkok: Office of the Higher Education Commission.
López-Pérez, M. V., Pérez-López, M. C., & Rodríguez-Ariza, L. (2011). Blended Learning in Higher Education: Students’ Perceptions and their Relation to Outcomes. Computers & Education, 56(3), 818-826.
Meepung, T. (2015). Results of Interactive Online Learning Using Davies’ Model in Computer and Information Technology Career for Vocational Certificate Level. Journal of Educational Research, 9(2), 78-84.
Noochuai, W., & Supap, S. (2022). The Development of an Instruction Model on Information Literacy Skill for Undergraduate Student at Valaya Alongkorn Rajabhat University. Educational Management and Innovation Journal, 5(2), 64-84.
Phonakhon, C. (2017). Digital Library towards Thailand 4.0. the National Academic Conference at the Annual General Meeting 2016. Bangkok: Thai Library Association under the Royal Patronage of H.R.H. Princess Mahachakri Sirindhorn.
Sangsuk, N. (2016). The Development of a Socio-constructivist Blended Training Model to Increase the Self-Development Competencies of Teachers. (Doctoral Dissertation). Kasetsart University. Bangkok.
Sawatdiphatcharakul, J. (2016). Development of Web-based Instruction Model Based on Constructionism to Develop Agricultural Students' Creative Thinking. (Doctoral Dissertation). Kasetsart University. Bangkok.
Secretariat Office of the Teachers’ Council of Thailand. (2013). Thailand Governing Professional Standards and Ethics B.E. 2556 [A.D. 2013]. Bangkok: The Teachers Council of Thailand.
Xingbin, T. (2012). The Development of an Instructional Model for Online Task-Based Interactive Listening for ELF Learners. (Doctoral Dissertation). Suranaree University of Technology. Nakhon Ratchasima.