การคิดเชิงระบบแบบพุทธบูรณาการเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

Main Article Content

ยุติธรรม สินธุ
อุทัย สติมั่น

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุุประสงค์เพื่อนำเสนอการคิดเชิงระบบแบบพุทธบูรณาการเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยมีการนำแนวคิดของการคิดเชิงระบบตามหลักการทางตะวันตกซี่งเป็นความสามารถของบุคคล ที่มีการคิดและมองสถานการณ์หรือสิ่งต่างๆ แบบองค์รวม มาบูรณาการกับคำสอนทางศาสนาพุทธซึ่งได้แก่หลักโยนิโสมนสิการ คือการทำในใจโดยแยบคาย เริ่มต้นคิดอย่างถูกต้องเป็นระบบ มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาหา ต้นเหตุ หาเหตุผลประกอบตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยเริ่มต้นมาจากความคิดที่จะไม่ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือนร้อน ผลลัพธ์ที่ได้จากการเชื่อมประสานแนวคิดจากฝั่งตะวันตกและตะวันออก สิ่งที่ได้คือ “การคิดเชิงระบบแบบพุทธบูรณาการ” ที่อาจถือได้ว่าเป็นความคิดที่เฉียบคม มีคุณภาพ เพื่อให้มีชีวิตที่ดี ที่งาม โดยอยู่บนฐานคิด 3 ประการดังนี้ (1) รู้แจ้งเห็นความจริง (2) แก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน (3) ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เป็นที่เชื่อว่าด้วยวิธีคิดที่เป็นระบบแบบพุทธบูรณาการนี้ จะทำให้ผู้คนไม่ติดอยู่ในกับดักของสิ่งเร้ารอบด้านในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความผันผวนไม่แน่นอนอีกทั้งยังซับซ้อนและเข้าใจยาก และก่อให้เกิดความขัดแย้ง ความรุนแรง และส่งผลให้ผู้คนเกิดความเครียดจนมีปัญหาหลายประการตามมา ทั้งในด้านส่วนบุคคล ครอบครัว หรือการอยู่ร่วมกันในชุมชน ดังที่มีการนิยามโลกยุคใหม่นี้ว่าโลกยุค BANI      ที่เป็นโลกแห่งความเปราะบางและกระทบอารมณ์ทางลบของผู้คนได้ง่าย ดังนั้น การนำคิดอย่างเป็นระบบ  แบบพุทธบูรณาการจะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนในสังคมยอมรับความจริงตามธรรมชาติและใช้ชีวิตเพื่อเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และช่วยให้มีการพิจารณา วิเคราะห์ แยกแยะ ข้อมูลต่างๆ ได้ดี ซึ่งจะทำให้มีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยผู้เขียนได้นำเสนอบันได 5 ขั้นของการคิดเชิงระบบแบบพุทธบูรณาการเพื่อการอยู่รวมกันอย่างสันติในสังคม ดังนี้ (1) เผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น (2) จัดการความคิดจากภายใน (3) จัดการสิ่งแวดล้อมภายนอก (4) สันติวิธี (5) สันติภาพภายนอก ชีวิต ครอบครัว สังคม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Anderson, V., & Johnson, L. (1997). Systems Thinking Basics: From Concepts to Causal Loop. (1st ed.). Waltham: Pegasus Communication.

Buddhajak, S. (2018). Global Warming, Crises, Conflicts and Refugees. Retrieved August 26, 2023, from https://www.tcijthai.com/news/2018/24/article/7928

Certo, G. (2000). System Thinking. (2nd ed.) London: SAGE Publications.

Lounkaew, K. (2022). The World Is Spinning Faster Every Day! Essential Skills for the Year 2025. Retrieved June 8, 2023, from https://theactive.net/data/top-skills-for-2025/

Monprasert, S. (2023). How Can We Live in a World Full of Adverse Situations? Retrieved June 7, 2023, from https://thestandard.co/how-do-we-live-in-bad-situation/

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto) (2016). Dictionary of Buddhism. (34th ed.). Bangkok: Pali Dhamma Publishing Company.

Phra Nitinan Santakayo (Boonsiripiphat) (2018). Buddhist Psychology Factors Generating Cognitive Processes in Buddhist Art. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkorn University. Ayutthaya.

Piyakun, A. (2022). University Students' Intolerance of Uncertainty and Psychological Well-being in an Uncertain Time from the COVID-19 Pandemic. Journal of Education Studies Chulalongkorn University, 50(2), 1-14.

Ratanapitakdhada, C., & Trirat, P. (2023). Educational Leaders' Competencies to Survive and Thrive in a BANI World. The Journal of Pacific Institute of Management Science, 9(1), 16-28.

Sariwat, L. (2006). Thinking. (1st ed.). Bangkok: Odeonstore.

Senge, P. (1993). The Fifth Discipline: The Art & Practice of the Learning Organization. (1st ed.). London: Century Business.

TODAY | Writer. (2021). The Relationship of Close Individuals and the Economic Problems During the COVID-19 Era. Retrieved June 7, 2023, from https://workpointtoday.com/news-40/

Wanakijpaibul, N. (2023). The Invisible Leader: Leading from the Shadows. (1st ed.). Bangkok: The Standard Publisher.

Wisetdonwai, J. (2022). Goodbye VUCA, Here Comes BANI: Encouraging School Leaders to Adapt and Keep up with Change. Retrieved June 7, 2023, from https://www.educathai.com/knowledge/articles/652