การพัฒนารูปแบบค่านิยมอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเยาวชนในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิธี

Main Article Content

พรพิมล โพธิ์ชัยหล้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาค่านิยมอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเยาวชนในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิธี (ใช้หลักธรรมสัปปุริสธรรม 7) 2. เพื่อสร้างรูปแบบค่านิยมอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเยาวชนในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิธี (ใช้หลักธรรมสัปปุริสธรรม 7) และ 3. เพื่อนำเสนอคู่มือการพัฒนารูปแบบค่านิยมอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเยาวชนในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิธี (ใช้หลักธรรมสัปปุริสธรรม 7) เป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เยาวชนไทยที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี ในสถานศึกษาสังกัดกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีการวัดแบบ  ลิเคิทสเกล Likert (1970) ตั้งแต่ระดับปฏิบัติมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .89 และได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร จำนวน 9 คน เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับองค์ประกอบ และตัวชี้วัดการพัฒนารูปแบบค่านิยมอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเยาวชนในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิธี รวมถึงการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นนักวิชาการหรือผู้สอนในโรงเรียนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 2 คน นักการศึกษาที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง 4 จังหวัด จำนวน 4 คน และผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 4 คน รวม 10 ท่าน


ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่านิยมอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเยาวชนในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิธี (ใช้หลักธรรมสัปปุริสธรรม 7) 6 ประการ ได้แก่ 1) อำนาจเป็นของประชาชน 2) สิทธิมนุษยชน 3) การใช้เหตุผลและขันติธรรม 4) การปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่ 5) ฉันทานุมัติ และ 6) กระบวนการประชาธิปไตย 2. รูปแบบค่านิยมอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเยาวชนในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิธี (ใช้หลักธรรมสัปปุริสธรรม 7) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 19 ตัวบ่งชี้ ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก 3. คู่มือการพัฒนารูปแบบค่านิยมอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเยาวชนในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิธี (ใช้หลักธรรมสัปปุริสธรรม 7) ความเหมาะสมของคู่มือเพื่อการพัฒนารูปแบบค่านิยมอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเยาวชนในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักพุทธวิธี (ใช้หลักธรรมสัปปุริสธรรม 7) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านประโยชน์จากการนำคู่มือไปใช้ รองลงมา คือ ด้านความเป็นไปได้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการออกแบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ayutthasirikul, A. (2018). A Study of Democratic Citizenship Characteristics of Secondary School Students. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Bangkok.

Chapilman, S. Ch. (1988). A Study of Ethical Attitudes, Values, Traditions and Cultures of Thai Families Affecting Child Rearing: A Case Study in Bangkok. (Research Report). Bangkok: The National Council on Social Welfare of Thailand under the Royal Patronage.

Hannakhin, P. (1983). Teaching Values and Ethics. Bangkok: Phikhanes Printing.

Jantanakul, R. (2020). The Change of Political and Economic Identity of Taiwan and the Effects on International Relations (1988-2018). (Research Report). Silpakorn University. Bangkok.

Kaothep, K. (2009). Mass Communication, Theories and Educational Approaches. Bangkok: Chulalongkorn University.

Kenaphoom, S., & Kosoldittiamporn, S. (2017). Democratic Way of Life Development by the Strengthening Process of the Democratic Ideologies Based on the Political Partnership. (Research Report). Rajabhat Mahasarakham University. Mahasarakham.

Likert, R. (1970). New Partterns of Management. New York: McGraw-Hill.

Philun, K., Silaat, Ch., Prajong, B., & Sarana, W. (2011). Education Level of Democratic Core Values of Public Administration Students. (Master’s Thesis). Kasetsart University. Bangkok.

Srisaat, B. (2010). Preliminary Research. (8th ed.). Bangkok: Suriyasarn.

The Secretariat of the House of Representatives. (2016). Youth and Participation in Democratic Development. Bangkok: Document Production Group, The Secretariat of the House of Representatives.

Thepthong, A., & Anukansai, K. (2019). Democratic Values of Thai Youth: A Case Study of High School Students in Nonthaburi. Suthiparithat, 33(105), 90-101.

Wasi, P. (2002). New Human Development for a Sustainable Future. Bangkok: Morchaoban.

Wongwanich, Y. (1997). The Relationship Between Democratic Values and Political Participation: The Case of the Election Behavior of the Village Headman. (Master’s Thesis). Kasetsart University. Bangkok.

Yamane, T. (1973). Statistics an Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.