พัฒนาการสื่อสารการขายของบุคลากรบริษัทตุนกะตังเบสท์เซ็นเตอร์ โดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

พิมพ์ชญา บุญญชนะ
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท ความจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการสื่อสารเพื่อการขายตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธี  ที่เอื้อต่อการพัฒนาการสื่อสารเพื่อการขายของบุคลากร 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอการสื่อสารเพื่อการขายของบุคลากรบริษัทตุนกะตังเบสท์เซ็นเตอร์โดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) ตามกรอบของอริยสัจโมเดลตามแนวทางของบันได 9 ขั้น กลุ่มประชากรในการวิจัยได้แก่ กลุ่มร่วมอบรมพัฒนา จำนวน 15 คน ประชากรกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์จำนวน 25 รูป/คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม เพื่อรับรองกระบวนการพัฒนา จำนวน 10 รูป/คน รวม 50 รูป/คน เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์แบบสามเส้า คือมีความสอดคล้องสมบูรณ์ของเนื้อหา ประเด็นสัมภาษณ์และตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาของการสื่อสารการขายของบุคลากรบริษัทตุนกะตังเบสท์เซ็นเตอร์ พบว่า 1) บุคลากรยังขาดเทคนิควิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับลูกค้า 2) บุคลากรขาดกระบวนการเทคนิคการขายอย่างมืออาชีพ 3) บุคลากรขาดการวิเคราะห์ลูกค้าและการบริการที่ดี 4) บุคลากรยังไม่มีแนวทางในการสื่อสารเพื่อการขายแบบพุทธสันติวิธี จึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาการสื่อสารเพื่อการขายสำหรับบุคลากรเพราะเป็นสภาพปัญหา มีการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการการสื่อสาร การขาย และสันติวิธี เข้ามาสนับสนุนการพัฒนา 2. หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาการสื่อสารเพื่อการขายของบุคลากรบริษัทตุนกะตังเบสท์เซ็นเตอร์โดยพุทธสันติวิธี พบว่า หลักสังคหวัตถุธรรมเป็นหลักพุทธสันติวิธีในการนักขาย ประกอบด้วย แบ่งปันข้อมูล (ทาน) สื่อสารสันติ (ปิยวาจา) สงเคราะห์บริการ (อัตถจริยา) วางตนต้นแบบ (สมานัตตตา) โดยมีหลักกัลยาณมิตรเป็นหลักสนับสนุนให้การสื่อสารเพื่อการขายมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 3. การพัฒนาการสื่อสารเพื่อการขายของบุคลากรบริษัทตุนกะตังเบสท์เซ็นเตอร์โดย พุทธสันติวิธีมุ่งพัฒนา 2 มิติบูรณาการ ประกอบด้วย มิติทางโลก 1) ผู้ขาย 2) ข้อมูลการขาย 3) ช่องทางและวิธีการขาย 4) ลูกค้าซื้อ 5) เกิดสันติสุข และมิติทางพุทธสันติวิธี 1) แบ่งปัน 2) สื่อสารสันติ 3) สงเคราะห์บริการ 4) วางตนต้นแบบ 5) ประสานสัมพันธ์เครือข่าย นำเสนอโมเดลการพัฒนา S C S I P T Model ประกอบด้วย 1) S (Sales) พัฒนาด้านการเป็นนักขาย 2) C Communications พัฒนาด้านการสื่อสาร 3) S Service พัฒนาด้านการบริการ 4) I Inner Peace พัฒนาด้านสันติภายใน 5) P Peaceful Means พัฒนาด้านพุทธสันติวิธี 6) T Team Work พัฒนาด้านการทำงานเป็นทีม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Charoenwongsak, K. (2019). Masterful Listener: The Art of Being a Listener in Business and Daily Life. Bangkok: Success Publishing Co., Ltd.

Chotisakulrat, P., & Maneekhao, N. (2016). Communication for Peace. Nakhon Pathom: Institute of Human Rights and Peace Studies.

Kanpai, K. (2019). Communication Arts in Tripitaka. Bangkok: V. Print (1991) Co., Ltd.

Maatloet, T. (2013). Analysist of Presentation Styles and Communication Process in the Propagation of Buddhism by V. Vajiramedhi: A Case Study of Literary Work in Applied Dhamma for New Generation. (Master’s Thesis). NIDA University. Bangkok.

Phrabrahmabundit (Prayoon Dhammachitto). (2019). Religion and the Sustainable Development Goals (SDGs). (2nd ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited.

Phramaha Chakrapol Acharachubho. (2022). Buddhadhamma of Peace. International Journal of Early Childhood, 14(03), 5961-5972.

Phramaha Hansa Dhammamahaso (Nithibunyakorn). (2004). A Form of Conflict Management Through Buddhist Peaceful Means the Case of the Mae Ta Chang River Basin Chiang Mai Province. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Watanasap, W., Tontheerawong, B., & Permpoonvivat, S. (2004). Conflict and Apology. Bangkok: Printed at Printing Hall Co., Ltd.

Wiriyanon, Ch. (2013). The Art of Communication of the Lord Buddha to Save Others from Suffering. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.