การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูสอนพระปริยัติธรรม เพื่อพัฒนาสันติวัฒนธรรมในชั้นเรียน

Main Article Content

พระมหาพงศธร ธมฺมภาณี (คลังสอน)
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความต้องการจำเป็นและแนวคิดทฤษฎีและหลักพุทธสันติวิธีที่เกี่ยวกับการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูสอนพระปริยัติธรรมเพื่อพัฒนาสันติวัฒนธรรมในชั้นเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดกฤษณเวฬุพุทธาราม (ไผ่ดำ) 2) เพื่อพัฒนาการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสันติวัฒนธรรมในชั้นเรียนตามหลักพุทธสันติวิธี สำหรับครูสอน  พระปริยัติธรรมโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดกฤษณเวฬุพุทธาราม (ไผ่ดำ) ใช้วิธีการวิจัยแบบปฏิบัติการ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 37 รูป / คน การสนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 รูป/คน ชุดปฏิบัติการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค AIC การสะท้อนผลด้วยเทคนิค AAR การกับกลุ่มครู ผู้บริหาร จำนวน 12 รูป/คน วิเคราะห์ผลด้วยอุปนัยวิธี


ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนอย่างโดดเดี่ยวในมิติปัญหาที่หลากหลายและซับซ้อน การบริหารจัดการห้องเรียนแบบการสอนเดิมๆ ไม่ตอบสนองความต้องการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนในยุคใหม่ แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการแก้ปัญหา ด้วยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่คำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญแบบองค์รวม โดยนำหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ คือ สาราณียธรรม, หลักอปริหานิยธรรม, หลักไตรสิกขา, หลักกัลยาณมิตร 2) ในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูสอนพระปริยัติธรรมเพื่อพัฒนาสันติวัฒนธรรมในชั้นเรียน ได้ชุดปฏิบัติการที่มีรูปแบบเป็นไปตามหลักสาราณียธรรม และหลักอปริหานิยธรรม ด้วยกระบวนการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติสร้างการมีส่วนร่วม โดยจัดกิจกรรม 2 วัน การจัดกิจกรรม 2 วัน ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ติดตามประเมินผล 1 เดือน องค์ความรู้ที่ได้ “A.S.,K.T. 4P: MODEL”

Article Details

How to Cite
ธมฺมภาณี (คลังสอน) พ. ., & วัฒนะประดิษฐ์ ข. . (2024). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูสอนพระปริยัติธรรม เพื่อพัฒนาสันติวัฒนธรรมในชั้นเรียน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(1), 336–348. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/269375
บท
บทความวิจัย

References

Chookamnerd, W., Sungtong, E., & Kerdtip, C. (2014). A Model of a Professional Learning Community of Teachers toward 21st Century Learning of Schools in Thailand. Hatyai Journal, 12(2), 123-134.

Dechakupt, P., & Yindeesuk, P. (2017). 7c Skills of 4.0 Teachers. Bangkok: Chulalongkorn Universiry Print.

Faisong, S., & Sinjindawong, S. (2018). Phrapariyati Dhamma Secondary Schools in Thailand 4.0. The Journal of Institute of Trainner Monk Development, 1(1), 80-92.

Kemma, H., Shuson, P., & Chansirisira, P. (2018). Strategies to Enhance Professional Development of Teacher in General Buddhist School. Journal of Educational Administration, Khon Kaen University, 14(2), 1-10.

Mongkolwanich, C. (2012). Organizational and Educational Personnel Administration. Bangkok: Thawee Print.

Petraksa, S., & Korburkaew, S. (2015). 21st Century Learning Skills in the New Century. Retrieved July 30, 2022, from https://supannapetraksa.blogspot.com/

Phramaha Likit Khamwongsa, Intusamit, M., & Nawasit, S. (2016). The Development of Professional Learning Community Indicator of Pariyattidhamma Schools in General Education Division under the Office of National Buddhism. Journal of Educational Administration, Khon Kaen University, 12(1), 95-104.

Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A. Payutto). (2018). Dictionary of Buddhism. (31th ed.) Bangkok: Sahadhammik Printing.

Tanyarattanasrisakul, M. (2017). The Professional Learning Community: Practices Guidelines for Teachers. RMUTSB Acad. J. (Humanities and Social Sciences), 2(2), 214-228.

Wikipedia. (2019). National Strategy, National Strategy for Development and Strengthen Human Resource Potential. Retrieved October 11, 2022, from https://www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

Wongyai, W., & Patpon, M. (2014). Cognitive Coaching. (3rd ed.). Bangkok: Charan Sanit Wong Printing.