การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

สุจิตรา โขมะพัฒน์
ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์
ปิยาภรณ์ พิชญาภิรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์วิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการด้านการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนศิลปะ โรงเรียนในสังกัดในสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เพื่อประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบประเมินความเหมาะสม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์แบบแผนในการสอนที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบตามแนวคิดการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน การเรียนการสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน และการเรียนการสอนโดยใช้พหุสัมผัส องค์ประกอบของรูปแบบมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. เนื้อหา 4. ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 สร้างประสบการณ์ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเชื่อมโยงช่องทางการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสหลายทางพร้อมๆ กัน ได้แก่ 1) การเห็น 2) การได้ยิน 3) การได้กลิ่น 4) การรู้รส 5) การรู้สึกที่ผิวหนัง ขั้นที่ 2 ประสานแนวคิด ขั้นที่ 3 พิชิตสร้างสรรค์ มีองค์ประกอบดังนี้ 1) ความคิดริเริ่ม 2) ความคิดคล่องแคล่ว 3) ความคิดยืดหยุ่น 4) ความคิดละเอียดละออ ขั้นที่ 4 ร่วมกันเสนองาน ขั้นที่ 5 วิจารณ์สะท้อนผล ขั้นที่ 6 ฝึกฝนพัฒนา 5. สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 6. การวัดและประเมินผล ซึ่งเรียกว่า รูปแบบการเรียนการสอน ECCPRD Model

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Arends, R. I. (1997). Classroom Instruction and Management. New York: McGraw Hill.

Education Council Secretariat Ministry of Education. (2009). Thought-provoking Learning Management Creation. Bangkok: Learning Innovation Promotion Group for Teachers and Officials.

Eisner, E. W. (2002). The Arts and the Creation of Mind. New Haven, CT: Yale University Press.

Joyce, B., & Weil, M. (2000). Models of Teaching. (6th ed). Boston: Allyn and Bacon.

Ketkhuntod, B. (2013). A Numerical Sense Study of Kindergarten 2nd Year Students in Specialized Schools with Disabilities from Organizing a Learning Experience that Uses a Series of Activities to Promote Number According to the Concept of Multisense. (Master’s Thesis). Rajabhat University Nakhon Ratchasima. Nakhon Ratchasima.

Khaemanee, Th. (2005). Variety of Alternative Teaching Methods. (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

Khaemmanee, Th. (2002). Science of Teaching. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Phanmanee, A. (2014). Train to Think, Think Creatively. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Phromsaow, K. (2010). The Use of Multisensory Teaching Methods to Promote Vocabulary Knowledge and Students' English Writing Ability Grade 5. (Master’s Thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai.

Ruechaipanich, W., & Nimitphongkul, W. (2019). Teaching Creativity, Learning Fun in the 4.0 Era. Bangkok: SE-ED Uktion.

Secretariat of the Education Council Ministry of Education. (2017). National Education Plan 2017-2036. (2nd ed.). Bangkok: Secretariat of the Council of Education.

Springgay, S., Irwin, R. L., Leggo, C., & Gouzouasis, P. (2008). Being with A/R/Tography. Rotterdam, the Netherlands: Sense.

Srisa-at, B. (2013). Principles of Basic Research. (9th ed.). Bangkok: Suweeriyasart.

Synder, S. (2004). Total Literacy ABD the Arts. Retrieved March 19, 2004, from www.aeideas.com/articles/tlandarts

William, J. R. (1970). Managerial Effectiveness. New York: McGraw-Hill Book Company.