การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบทางศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

พัทรพงษ์ ศิริสุวรรณ
ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์
สาวิตรี เถาว์โท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบทางศิลปะ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบทางศิลปะ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบทางศิลปะ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา คือ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสภาพ ปัญหา และแนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทัศนศิลป์ แบบสอบถามข้อมูลเพื่อการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบทางศิลปะของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบทางศิลปะของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบทางศิลปะ ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ พบว่า สภาพปัญหาโดยรวม มีสภาพปัญหาและความต้องการอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.57) 2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบทางศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กิจกรรมการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหา และวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ขั้นที่ 2 การเรียนรู้และการทำความเข้าใจกับปัญหา ขั้นที่ 3 วิเคราะห์หาแนวทางการแก้ปัญหาและการกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 วิเคราะห์และวางแผนแนวคิดการออกแบบเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์หรือการสร้างสรรค์ผลงาน ขั้นที่ 5 ดำเนินการสร้างผลิตภัณฑ์หรือผลงาน ขั้นที่ 6 นำเสนอ และประเมินผลงาน 5) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 6) การวัดและประเมินผล 3. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบทางศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่ามีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับ มากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.65)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Brown, T. (2008). Design Thinking. Harvard Business Review, 86, 84-92.

Chindanurak, T. (2017). Teachers and Students in Thailand Education 4.0. Electronic Journal of Open and Distance Innovation Learning, 7(2), 14-29.

Dechakup, P., & Yindeesuk, P. (2018). Integrated Active Learning with PLC for Development. (1st ed). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Janhom, P. (2021). The Study in Art Education Learning Management to Develop the 21st Century Learners Skills. Journal of Faculty of Education Pibulsongkram Rajabhat University, 8(2), 253-266.

Joyce, B., & Weil, M. (1996). Model of Teaching. (5th ed). Boston: Allyn and Bacon.

Khammanee, T. (2014). Pedagogical Science: Knowledge for Effective Learning Process Management. (18th ed). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Khlaisri, P. (2017). Development of the Instructional Model Using Blended Learning and Metacognition for Faculty of Education Students in Rajabhat University in the Northeastern. (Doctoral Dissertation). Dhurakij Pundit University. Bangkok.

Ministry of Education, Office of the Permanent Secretary. (2016). Education Development Plan of the Ministry of Education No.12. [A.D. 2017-2021]. (1st ed.). Bangkok: Office of the Permanent Secretary.

Polla, P. (2017). The Model for Learning Management by Application Creation in the Course ‘Webpage Development with a Computer Program’. (Doctoral Dissertation). Mahasarakham Rajabhat University. Mahasarakham.

Sheeprubsuk, K. (2014). Electronic Library (e-Library), a New Form of Learning in the 21st Century. Journal of Educational Research: Office of the Education Council, 1(1), 5.

Silarat, P. (2016). Thai Education 4.0: Creative and Productive Education Philosophy. (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Termpittayapaisit, A. (2010). Thailand’s Creative Economy. Shifting the Country's Paradigm towards the Creative Economy. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council.

Thanopajai, S. (2023). The Model for Enhancing Competency of Teacher to Encourage Science Process Skills of Early Childhood. (Doctoral Dissertation). Ubonratchathani Rajabhat University. Ubonratchathani.