แนวทางการสื่อสารของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนต้นแบบ ตามหลักพุทธสันติวิธี

Main Article Content

สุดาพร สกุลดี
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพบริบทการสื่อสารของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จและมีความเป็นมืออาชีพจากการได้รับรางวัลศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และการบอกต่อ เช่น ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน อำเภอเมืองเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม และศูนย์ไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทในชุมชน ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เป็นต้น และหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการสื่อสารเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการสื่อสารของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนต้นแบบตามหลักพุทธสันติวิธี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทภาคประชาชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จและมีความเป็นมืออาชีพจากการได้รับรางวัลศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และการบอกต่อ 4 ภูมิภาค ภาคละ 2 คน รวมจำนวน 8 คน วิเคราะห์ผลด้วยอุปนัยวิธี    


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนต้นแบบ เป็นผู้ที่มีจิตอาสาอยากให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ปัญหาความขัดแย้งที่พบบ่อย คือ เรื่องของผลประโยชน์และความสัมพันธ์ ปัญหาการสื่อสารของผู้ไก่ลเกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน พบว่า ในฐานะผู้ส่งสาร คือ การใช้ภาษาที่ยากและซับซ้อน ขาดทักษะ ในการไกล่เกลี่ย รวมถึงการใช้ถ้อยคำที่ไม่ระมัดระวังกระทบจิตใจผู้ฟัง ขาดการรับฟัง ปัญหา ในฐานะผู้รับสาร เช่น ผู้ใช้บริการขาดความเข้าใจกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ทำให้ผู้ไกล่เกลี่ยต้องสื่อสารอธิบายเพื่อให้เกิดความมั่นใจ การติดต่อประสานงานกับผู้รับสารในฐานะคู่พิพาทบางครั้งไม่สามารถติดต่อได้ หรือคู่พิพาททิ้งเรื่องโดยขาดการติดต่อ การขาดความไว้วางใจหรือความเชื่อมั่นในตัวผู้ไกล่เกลี่ย เป็นต้น สำหรับหลักพุทธสันติวิธีที่ใช้ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คือ วาจาสุภาษิต ได้แก่ ความจริง ไพเราะ เหมาะกาล เชื่อมสามัคคี มีประโยชน์และเมตตา 2) แนวทางการสื่อสารของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนต้นแบบตามหลักพุทธสันติวิธี พบว่า 5 หลักการสื่อสารของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนต้นแบบตามหลักพุทธสันติวิธี ประกอบด้วย (1) สื่อสารด้วยภาษาที่เหมาะสม (2) สื่อสารด้วยความไว้วางใจ (3) สื่อสารด้วยความสุภาพ (4) สื่อสารด้วยวาจาที่เป็นประโยชน์ และ (5) สื่อสารด้วยจิตที่เมตตา องค์ความรู้งานวิจัย เรียกว่า “5 หลักการสื่อสารของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนต้นแบบตามหลักพุทธสันติวิธี”

Article Details

How to Cite
สกุลดี ส. . ., & วัฒนะประดิษฐ์ ข. . (2024). แนวทางการสื่อสารของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนต้นแบบ ตามหลักพุทธสันติวิธี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(2), 546–555. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/269357
บท
บทความวิจัย

References

Anantaprayoon, A., Phramaha Hansa Dhammahaso, & Inthaongpan, P. (2019). A Model of Developing the Mediators by Buddhist Peaceful Means: A Case Study of Chonburi Court. Journal of MCU Peace Studies, 7(Supplement Issue), S266-S280.

Department of Corrections. (2022). Report on Statistics of People in Prison Across Throughout Thailand. Retrieved November 17, 2022, from http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_result.php?date=2023-10-01&report=

Likasitwatanakul, S. (2019). Reform The Indifferent Justice Process. Retrieved November 17, 2022, from https://www.the101.world/surasak-interview/

Navachainun, Th., Phramaha Duangden Thitaña-n·o, & Thontiravong, B. (2017). An Application of Buddhist Peaceful Means to Mediation: A Case Study of the Mediators of Mediation Center, Legal Execution Department. Journal of MCU Peace Studies, 5(Special Issue), 87-98.

Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC). (2021). Statistics on the Performance of Helping People of the Department of Rights and Liberties Protection Fiscal Year 2021. Retrieved November 17, 2022, from https://opendata.nesdc.go.th/en/dataset/https-drive-google-com-file-d-1iugiaj9ehyiegx3ru7dmtmexso8jcihl-view-usp-sharing

Right and Liberties Protection Department. (2019). Knowledge of Dispute Mediation ACT, B.E. 2562 (2019). Retrieved November 17, 2022, from https://www.tambondonsai.go.th/datacenter/doc_download/a110920154109.pdf

Sompong, S. (2015). A Critical Analysis of Communication Pattern for Peace in the Online Media by Buddhist Peaceful Means: A Case Study of Komchadluek, Net. (Master’s Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Bangkok.

Sutthirak, W., Phramaha Hansa Dhammahaso, & Wattanapradith, Kh. (2017). An Analysis of the Communicative Way for Peace of the 14th Dalailama according to Buddhist Peaceful Mean. Journal of MCU Peace Studies, 5(Special Issue), 323-335.