กระบวนการพัฒนาการสื่อสารของบุคลากรโดยพุทธสันติวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความต้องการความจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีกระบวนการพัฒนาการสื่อสารของบุคลากรตามศาสตร์สมัยใหม่ (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาการสื่อสารของบุคลากรโดยพุทธสันติวิธี (3) เพื่อพัฒนาการสื่อสารและนำเสนอกระบวนการพัฒนาการสื่อสารของบุคลากร บริษัท โกลบอล 205 (ประเทศไทย) จำกัด โดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) ตามกรอบของอริยสัจโมเดลตามแนวทางของบันได 9 ขั้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมดจำนวน 25 รูป/คน ได้แก่ นักวิชาการจำนวน 5 รูป/คน ผู้นำชุมชน ผู้นำ ทางศาสนา บุคลากรจำนวน 20 รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง และนำมาวิเคราะห์อธิบายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการสื่อสารของบุคลากร บริษัท โกลบอล 205 (ประเทศไทย) จำกัด ปัญหาด้านองค์ความรู้ ทักษะ เทคนิค การบริการ และวิธีการสื่อสาร ต่อการสื่อสารของบุคลากร ขาดการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ขาดวิธีการสื่อสารอย่างสันติวิธี และ ขาดการติดต่อสื่อสารประสานงานของบุคลากร 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาการสื่อสารของบุคลากรโดยพุทธสันติวิธี พบว่าหลักอปริหานิยธรรม 7 ประการ เป็นหลักการสื่อสารของบุลากรประกอบด้วย (1) ประชุมเป็นนิตย์ มีพื้นที่ปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน (2) พร้อมเพียงกันประชุมและเลิกประชุม ทำให้เกิดความสามัคคีภายในองค์กร (3) ไม่บัญญัติ หรือไม่ล้มเลิกข้อบัญญัติ ระเบียบกฎเกณฑ์ขององค์กร (4) เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา ปฏิบัติหน้าที่ให้งานบรรลุไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร (5) ให้เกียรติ และคุ้มครองสิทธิสตรี เป็นการเปิดโอกาสให้สตรีมีส่วนร่วมและบริหารภายในองค์กร (6) ส่งเสริมรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามขององค์กร บริษัท โกลบอล 205 (ประเทศไทย) จำกัด (7) คุ้มครองปกป้องอันเป็นธรรมแก่บุคลากรทุกคนในองค์กร 3) กระบวนการพัฒนาการสื่อสารของบุคลากรโดยพุทธสันติวิธี มุ่งพัฒนาให้บุคลากร “เปิดใจเรียนรู้ พัฒนาและคิดบวก การสื่อสารอย่างสันติ การทำงานเป็นทีม มีสันติภายใน มีพุทธสันติวิธี และมีการสื่อสารเชิงบวก”ตามโมเดล BANGYIM Model คือ B=Beautiful การสื่อสารที่เหมาะสม A=Advice ใฝ่แนะนำพัฒนาทักษะการสื่อสาร N=Knowledge พัฒนาองค์ความรู้การสื่อสาร G=Good service การบริการที่ดี Y=Yes I can do You บุคลากรพร้อมเป็นนักสื่อสารและรับฟังข้อมูลที่ดี I=Inner Peace มีสันติภายใน M=Mindfulness มีสติในการสื่อสารสู่ยกระดับเป็นองค์กรสันติสุข
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Baibua, M. (1993). Principles and Theories of Communication. Bangkok: Odian Store.
Chantawan, U. (2016). Please Apply to Protected Zoos Every Time. (Master’s Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Bangkok.
Chotisakulrat, P. (2007). Peaceful Communication. Bangkok: Samsikkhalai.
Lakuanwan, K. (1996). Current Conditions, Problems and Needs in Personnel Development of Provincial Government Officials, under the Office of the Permanent Secretary Ministry of Education in Region 9. (Master's Thesis). Khon Kaen University. Khon Kaen.
Maneemai, S. (2017). Organizational Communication Efficiency Development in Humanities and Social Sciences. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 8(1), 106-115.
Na Nakorn, S. (2018). A Process of Communication for Building Peaceful Organizations by Buddhist Peaceful Means. Journal of MCU Peace Studies, 7(2), 447-464.
Office of the National Economic and Social Development Council, Office of the Prime Minister. (2022). National Economic and Social Development Plan, 30th Edition, (2023 – 2027). Bangkok: Government Gazette.
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2015). Communication Guidelines for Peace. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phramaha Hansa Dhammamahaso. (2011). Right Speech “Speak Good, Look Good, Good Society”. Bangkok: 21st Century Printing Co., Ltd.
Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A. Payutto). (2016). Dictionary of Buddhism. Bangkok: Peace Education Foundation.
Thanapatthanachot, A. (2013). Patterns of Success for the Free Laser Printer Project. Bangkok: Global 205 (Thailand) Co., Ltd.