รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านที่อยู่อาศัยในเขตปริมณฑล

Main Article Content

ลลิตา สิริพัชรนันท์
เพ็ญศรี ฉิรินัง
อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ
วรเดช จันทรศร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)วิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านที่อยู่อาศัย 2) ระบุสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุด้านที่อยู่อาศัยในเขตปริมณฑล 3)เสนอรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านที่อยู่อาศัยในเขตปริมณฑล เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริหารนโยบายภาครัฐเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ดำเนินโครงการสำหรับผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุ 25 คน และทำการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย


ผลการศึกษาพบว่า 1) นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ในภาพรวมเป็นสำคัญ โดยไม่ได้ระบุชัดเจนด้านที่อยู่อาศัย 2) สภาพปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านที่อยู่อาศัย 7 ด้าน คือ ด้านนโยบายต่อผู้สูงอายุ ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม ด้านสังคม ด้านครอบครัวและจิตใจ ด้านการสร้างองค์ความรู้ ด้านกระแสสังคมทางวัฒนธรรม และด้านความต้องการ คือ ด้านสุขภาพกายสุขภาพใจ ด้านความอบอุ่น ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ส่วนความต้องการของผู้สูงอายุด้านที่อยู่อาศัยนั้น มีอยู่ 4 ประเด็น ได้แก่ 1. ต้องการที่พักอาศัยที่มีความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ 2. ต้องการสภาพแวดล้อมและสาธารณูปโภคต่างๆ ที่มีความพร้อมและเพียงพอ 3. ต้องการพักอาศัยอยู่ร่วมกับบุตรหลานและคนในครอบครัวอย่างมีความสุข และ 4. ต้องการการมีทางเลือกในการพักอาศัยในที่อื่นๆ ได้ 3) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านที่อยู่อาศัยในเขตปริมณฑล ต้องส่งเสริมการพัฒนาบ้าน เพื่อผู้สูงอายุที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวได้ตามปกติ โดยมีฟังก์ชั่นของบ้านที่เอื้อต่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุ ควบคู่กับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ เช่น โรงพยาบาล ชมรมผู้สูงอายุ และให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลกันเองได้ ดังนั้น ภาครัฐควรต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ มีมาตรการสนับสนุนผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ดำเนินโครงการเพื่อผู้สูงอายุ และมีการกระตุ้นประชาชนให้เข้าพักอาศัย ซึ่งจะส่งผลต่อภาครัฐในการแก้ไขปัญหาทางสังคมควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Risk Communication and Health Behavior Development, Department of Disease Control. (2023). Population Statistical Data Structure by Age. Retrieved November 9, 2022, from http://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByAge.php

Chamnirachakit, Th. (2019). Model for the Development of the Life Quality of the Elderly Living in Bang Phut Subdistrict District Administrative Organization, Muang District, Pathum Thani Province. The Journal of Development Administration Research, 9(3), 185-192.

Department of Older Persons. (2021). Measures to Drive the National Agenda about Aging Society. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2022). Academic Proposals for Development work Skills (Re-skill and Up-skill) to Create Income Security for the Elderly. Retrieved November 22, 2022, from https://thaitgri.org/

Jamsai, Th. (2021). Policy on Elderly Welfare in Thailand. Journal of MCU Social Development, 6(3), 1-16.

Pheansomboon, Ph., Chungsatiansup, K., & Sararum, Th. (2019). Development of Housing Modification Model for Promotion of the Elderly Life Quality. Journal of Graduate Studies Review, 14(3), 149-157.