รูปแบบการพัฒนาการให้บริการลงทุนประตูเดียวเบ็ดเสร็จ ขั้นแขวง ของแผนกแผนการและการลงทุน แขวงจำปาสัก สปป.ลาว

Main Article Content

สะหวี แก่นพมมา
อนันต์ สุนทราเมธากุล
นิศานาจ โสภาพล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการให้บริการการลงทุนประตูเดียวเบ็ดเสร็จ ของแผนกแผนการและการลงทุน แขวงจำปาสัก สปป.ลาว 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการให้บริการการลงทุนประตูเดียวเบ็ดเสร็จ ขั้นแขวง ของแผนกแผนการและการลงทุน แขวงจำปาสัก สปป.ลาว 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาการให้บริการการลงทุนประตูเดียวเบ็ดเสร็จ ขั้นแขวงของแผนกแผนการและการลงทุน แขวงจำปาสัก สปป.ลาว กลุ่มเป้าหมาย ระยะที่ 1 คือ เจ้าหน้าที่แผนกแผนการและการลงทุน จำนวน 200 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ระยะที่ 2 คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการให้บริการ การลงทุนประตูเดียวเบ็ดเสร็จ จำนวน 15 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และระยะที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการให้บริการการลงทุนประตูเดียวเบ็ดเสร็จ จำนวน 15 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า สภาพและปัญหาการให้บริการการลงทุนประตูเดียวเบ็ดเสร็จ ของแผนกแผนการและการลงทุน แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการจัดการองค์กร (gif.latex?\bar{x} = 3.75) รองลงมา คือ ด้านบุคคล (gif.latex?\bar{x} = 3.57) และด้านการจัดการ (gif.latex?\bar{x} = 3.56) ตามลำดับการสร้างรูปแบบการพัฒนาการให้บริการการลงทุนประตูเดียวเบ็ดเสร็จ ขั้นแขวง ของแผนกแผนการและการลงทุน แขวงจำปาสัก สปป.ลาว มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ การดำเนินงาน และเงื่อนไขของความสำเร็จของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ คือ การพัฒนาการให้บริการการลงทุนประตูเดียวเบ็ดเสร็จ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ คือ เพื่อได้รูปแบบการพัฒนาการให้บริการการลงทุนประตูเดียวแบบเบ็ดเสร็จ องค์ประกอบที่ 3 การดำเนินการ ประกอบด้วย 1) การค้นปัญหาและสาเหตุ 2) การวางแผนและการดำเนินการ 3) การติดตามและประเมินผลรูปแบบ องค์ประกอบที่ 4 ) เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความตระหนักเห็นความสำคัญ มีการเตรียมความพร้อมมีความรู้ความเข้าใจในการให้บริการ ร่วมคิดร่วมทำ รวมทั้งองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวกำกับติดตามการดำเนินงาน ควบคุมการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ส่วนผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาการให้บริการการลงทุนประตูเดียวเบ็ดเสร็จ (One stop service) ขั้นแขวงของแผนกแผนการและการลงทุน แขวงจำปาสัก สปป.ลาว มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Department of International Trade Promotion, Ministry of Commerce. (2015). Laos Trade and Investment Handbook. Bangkok: Ministry of Commerce.

Derrigo, Frances. (2005). College Human Resource Management. Retrieved April 3, 2017, from http://www.lib.umi.com

Ministry of Planning and Investment, Lao. (2016). The National Economic and Social Development Plan. Vientiane Capital: Ministry of Planning and Investment.

Phankhetkit, N. (2014). Public Participation in Public Service Work in Infrastructure of Sai Ngam Subdistrict Service Organization, Sai Ngam District, Kamphaeng Phet Province. (Master’s Thesis). Kamphaeng Phet Rajabhat University. Kamphaeng Phet.

Promma, R. (2017). The Development of Research Management System and Mission Relations of Uttaradit Rajabhat University and Society. Academic Journal Uttaradit Rajabhat University, 12(1), 7-11.

Saengthanang, K. (2020). The Model of Development for Basic Education Schools to an Innovative Organization. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(7), 153-168.

Samruengram, P., Srikaoros, R., Yosrikhun, C., & Tungkamanee, N. (2019). The Factor Effecting Successful Operation One Stop Service Center at Sub-district Municipal Office in Nakhon Ratchasima Province. Adult Workers: Opportunity and Challenges of Higher Education. The 6th National Conference Nakhonratchasima College 2019 (pp. 370-383). Nakhonratchasima College. http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2562Vol9No1_44.pdf

Santiwong, Th. (1998). Principles of Management. (3rd ed.). Bangkok: Thaiwatthanapanich.

Sounthone, B., Siriswat, Ch., & Sairuksa, D. (2018). A Model Development for Promotion Trade and Investment in Vangtao-Phonethong Special Economic Zone Champasak Province, Lao PDR. Chophayam Journal, 29(2), 267-274.

Tancharoen, S. (2010). Travel Exhibition Influencing the Purchasing Decision Making on Domestic Traveling of Thai Tourists. (Research Report). Bangkok: Southeast Asia University.