รูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี

Main Article Content

ณัชธิญา ปัทมทัตตานนท์
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี
อัจฉรา วัฒนาณรงค์
สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของความเสี่ยงในการบริหารจัดการของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี 2. สร้างรูปแบบการบริหารจัดการ       ความเสี่ยงของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี 3. ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และเขต 2 จำนวน 169 โรง กลุ่มตัวอย่างเป็นสถานศึกษา คำนวณโดยการเปิดตารางของเครจซี่และ มอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง 118 โรง ในแต่ละโรงกำหนดผู้ให้ข้อมูล เป็นผู้บริหารสถานศึกษามีหน้าที่ในการบริหารความเสี่ยง ครูและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบมีและมีความรู้ความสามารถในการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา รวม 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าสหสัมพันธ์ วิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน


ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) ผลผลิตและการบริการ 2) ประสิทธิภาพทางการเงิน 3) บุคลากร 4) การบริหารจัดการ 5) วัสดุอุปกรณ์ และ 6) นโยบายสถานศึกษาเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการบริหารจัดการของสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ 2. รูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับที่ยอมรับได้ 3. รูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีที่สร้างขึ้นมีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.50, S.D. = .22) และความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.54, S.D. = .22)

Article Details

How to Cite
ปัทมทัตตานนท์ ณ. ., นิรัญทวี ศ. ., วัฒนาณรงค์ อ. ., & เอี่ยมคงสี ส. . (2024). รูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(1), 182–193. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/268741
บท
บทความวิจัย

References

Atiwitthayaporn, J. (2010). Principles and Theories of Administration. Songkhla: Thaksin Wittaya University.

Khamhaeng, P., Setthajon, S., & Sakoon, W. (2010). Risk Management Models of Private Schools in General Education in Bangkok. Journal of Phetchabunsan Rajabhat, 22(1), 19-34.

Ministry of Education. (2010). National Education Act 2010. (3rd ed). Bangkok: Siam Sport Syndicate.

Nguanhom, S. (2013). Risk Factors and Effectiveness of Municipality School in Local Group 1. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Bangkok.

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Education. (2019). Risk Management and Control within the Technology Development Fund for Education Year 2019. Retrieved January 5, 2021, from http://edf.moe.go.th/web/wp-content/uploads/2019/

Pathumthani Provincial Education Office. (2020). Educational Development Group Practice Manual. Retrieved September 1, 2020, from http://www.pathumpeo.com/data_ 13808_5

Phromsri, C. (2007). Risk Management. Bangkok: Offset Creation Co., Ltd.

Toojumnong, W. (2017). Risk Management Model of Basic Educational Institutions under the Office of the Area Nakhon Ratchasima Primary Education. (Doctoral Dissertation). North Bangkok University. Bangkok.

Yongbut, P. (2012). The Development of a Whole-organization Risk Management Model in Primary Education Service Area. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.