กระบวนการพัฒนาวิทยากรจิตใต้สำนึกโดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

พิศลยา บัวแก้ว
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา ความจำเป็น และแนวคิด ทฤษฎีกระบวนการพัฒนาวิทยากรจิตใต้สำนึกตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาวิทยากรจิตใต้สำนึก 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาวิทยากรจิตใต้สำนึกโดยพุทธสันติวิธี เป็นงานวิจัยรูปแบบอริยสัจโมเดลสอดคล้องกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) ภายใต้กรอบการดำเนินการวิจัยตามแนวทางของบันได 9 ขั้นตอน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มประชากรซึ่งมีการพิจารณาการคัดเลือกจากผู้สมัครเข้ารับการพัฒนา โดยมีคุณสมบัติตามที่กำหนด จำนวน 22 คน โดยเปิดรับสมัครจากผู้ที่มีความสนใจแล้วนำมาคัดเลือก ตามคุณสมบัติที่กำหนดเพื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนา ประชากรกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์จำนวน 25 รูป/คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มเพื่อรับรองกระบวนการพัฒนา จำนวน 10 รูป/คน และนำมาวิเคราะห์อธิบายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของวิทยากรจิตใต้สำนึก พบว่า วิทยากรขาดด้านความรู้ด้านคุณลักษณะ ด้านทักษะ ด้านจิตใต้สำนึก และด้านบูรณาการ จึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาวิทยากรจิตใต้สำนึก โดยพุทธสันติวิธีเพราะเป็นสภาพปัญหา มีการเปลี่ยนแปลงของสังคม และเป็นเชิงนโยบายสู่เป้าหมาย ที่มีความยั่งยืน โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาวิทยากร กระบวนกร การสื่อสาร จิตวิทยา การโค้ช สันติวิธี และจิตใต้สำนึก เข้ามาสนับสนุนการพัฒนา 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาวิทยากรจิตใต้สำนึกโดยพุทธสันติวิธี พบว่า การพัฒนาวิทยากรจิตใต้สำนึกต้องพัฒนาคุณลักษณะของวิทยากรจิตใต้สำนึกให้เป็นผู้ที่มีสันติภายใน ตามหลักพุทธสันติวิธีจากกระบวนการพัฒนาผ่านหลักสติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย เรียนรู้กาย เรียนรู้เวทนา เรียนรู้จิต เรียนรู้ธรรม โดยคุณลักษณะของวิทยากรจิตใต้สำนึก จะต้องมีความเป็นกัลยาณมิตรเป็นฐาน และมีผลลัพธ์แสดงออกมาในรูปแบบของภาวนา 4 ประกอบด้วยด้านกายภาพ ด้านพฤติภาพ ด้านจิตภาพ และด้านปัญญาภาพของการเป็นวิทยากรจิตใต้สำนึก 3) กระบวนการพัฒนาวิทยากรจิตใต้สำนึกโดยพุทธสันติวิธี มุ่งพัฒนา 6 ด้าน ประกอบด้วย “ด้านวิทยากรต้นแบบ ด้านจิตใต้สำนึก ด้านการสื่อสารอย่างทรงพลัง ด้านสันติภายใน ด้านพุทธสันติวิธี และด้านความสุขและความสำเร็จ” โดยผู้วิจัยค้นพบ MACSUK Model 1) Mindfulness มีสติเป็นฐาน 2) Attitude ทัศนคติต่อการเป็นวิทยากรจิตใต้สำนึก 3) Communication การสื่อสารทรงพลังเกี่ยวกับจิตใต้สำนึก 4) Skill ทักษะการโค้ช 5) Understand ความเข้าใจลึกซึ้งจิตใต้สำนึก 6) Knowledge ความรู้เกี่ยวกับวิทยากรจิตใต้สำนึก โดยการเป็นวิทยากรจิตใต้สำนึกโดยพุทธสันติวิธีจะต้อง “รู้ตน เห็นตน เย็นตน ใจตน”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buasan, D. (2003). The State of the Subconscious Mind. (Master’s Thesis). Silpakorn University M.F.A. (Painting). Nakhon Pathom.

Kunajirakul, N. (2021). Integrative Stress Therapy Model between Reiki and Mindfulness: A Case Study of Hotel Fuse Hotel Managers, Muang District, Rayong Province. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Lincharearn, A. (2015). Data Analysis and Presentation in Qualitative Research. Retrieved April 27, 2019, from http://www.edu.tsu.ac.th/major/eva/files/journal/DataAnalysis.pdf

Murphy, J. (2023). The Power of Your Subconscious Mind. (1st ed.). Bangkok: Parbpim Printing.

Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto). (2020). Religion and the Sustainable Development Goals (SDGs). (2nd ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Pairoj-Angsuthon, T. (2021). Facilitative Leadership in “The Order of Interbeing” Group, Plum Village, Thailand. (Master’s Thesis). Mahidol University. Nakhon Pathom.

Phra Bunyarit Ratintharo (Nuch Thian). (2008). A Comparative Study of Bhavangcitta of Theravāda Buddhist Philosophy and Subconscious of Sigmund Freud. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phrakhruwinaithorn Sirichet Siriwattano, (2021). The Development of the Human Mind by Using the Four Foundations of Mindfulness. Journal of MCU Loei Review, 2(2), 136-148.

Phra Pramote Vadakovit. (2019). A Model of Developing an Ideal Expert in Peace by BuddhistPeaceful Means. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Sa-nguanchom, P. (2023). A Model for the Development of Prototype Facilitative Leaders for Peace by Buddhist Peaceful Means. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.