รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะที่จำเป็นของนักเรียน ในสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร

Main Article Content

เจษฏาภรณ์ สอนทะ
จิติมา วรรณศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะที่จำเป็น     ของนักเรียนในสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการจัดการศึกษา 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดการศึกษา และ 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะที่จำเป็นของนักเรียนในสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร โดยมีรูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการจัดการศึกษา โดยการสังเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดการศึกษา โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 3) การประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดารใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 90 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะที่จำเป็นของนักเรียนในสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยนำเข้าของการจัดการศึกษา 2) กระบวนการการจัดการศึกษา 3) ทักษะที่จำเป็นของนักเรียน 2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบ พบว่า รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะที่จำเป็นของนักเรียนในสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 1 เงื่อนไขความสำเร็จ คือ 1) ปัจจัยนำเข้าของการจัดการศึกษา 2) กระบวนการการจัดการศึกษา 3) ทักษะที่จำเป็นของนักเรียน และเงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ นโยบายการจัดการศึกษา 3. ผลการประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะที่จำเป็นของนักเรียนในสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 1. (2014). Strategies for Educational Management Development of Basic Educational Institutions in the Highlands and Upper Northern Border for the 21st Century. Chiang Rai: Chiang Rai Educational Service Area Office 1.

Hoy, W. K., & Cecil, G. M. (2001). Educational Administration: Theory, Research and Practice. (6th ed.). New York: Mc Graw-Hill International Edition 2001.

HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Project, Office Princess Maha Chakri Sirindhorn. (2008). Child and Youth Development Plan in the Wilderness According to the initiative of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Princess Maha Chakri Sirindhorn, No. 4, 2007 - 2016. Bangkok: HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Project Office, Princess Maha Chakri Sirindhorn.

Jamonman, U. (1998). Model. Academic Journal, 1(12).

Johns, C. (2000). Becoming a Reflective Practitioner. London: Blackwell Science.

Manokarn, M. (2011). The Development of Basic Educational Institution Administrative Model on Highlands and Remote Areas. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.

Office of Strategic Administration and Education Integration 1. (2011). Royal Education Action Plan, Fiscal Year 2011 Upper Northern Province Group 2. Chiang Mai: Office of Strategic Administration and Integrated Education 1.

Office of the Basic Education Commission. (2010). Guidelines for Research and Promotion of Educational Research. Bangkok: J.N.T. Printing House.

Office of the Civil Service Commission. (2017). Learning Reflection Handbook for Training Project Support to High Administrator Curriculum. (10th ed.). Bangkok: Office of the Civil Service Commission.

Office of the National Education Commission. (2009). National Education Act 1999. Bangkok: Graphic Pepper.

Office of the Secretariat of the Council of Education. (2006). National Education Plan 2017-2036. (1st ed.). Bangkok: Graphic Pepper.

Ratanit, S. (2013). Principles, Theory and Practice, Education Administration. (3rd ed.). Bangkok: Pimdee Co., Ltd.

Sanguannam, J. (2008). Theory and Practice in School Administration. (2nd ed.). Bangkok: Book Point.

Songpan, W. (2015). The Development of a School Administration Model to Achieve Quality Assurance Results, Inside of the Secondary School in the Andaman South. (Doctoral Dissertation). Hat Yai University. Songkhla.

UNICEF of Thailand. (2016). School Administrators: Children's Hopes Are Disadvantaged in the Highlands and the Wilderness. Supporting Documents for the Meeting Dated 19 September 2016.

Wannasri, J. (2014). Academic Administration in Educational Institutions. Phitsanulok: Rattanasuwan Printing.