การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

การุณ สุจริตประภากร
มาลี ไชยเสนา
นิศานาจ โสภาพล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปัจจุบัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 252 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบกลุ่มขั้นตอนเดียว ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนารูปแบบจำนวน 13 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพสมรรถนะของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวมทั้งหมดมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 3.88 2) รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 2.1) ความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.2) ความรู้ความเข้าใจในกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2.3) การประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล 2.4) การปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงาน เพื่อมุ่งสู่การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอย่างมีดุลยภาพและสร้างสรรค์ 3) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kokpol, A., & Sukawattana, T. (2008). Local Council Members Guide. (1st ed.). Bangkok: Tammada Press.

Patthaburee, W. (2016). Development Model of Conflict Management Competency for School Administrators under the Office of Basic Education Commission in the Southernmost Provinces. (Doctoral Dissertation). Prince of Songkla University. Songkla.

Phuwittayaphan, A. (2005). Career Development in Practice. (2nd ed.) Bangkok: HR Center.

Rach-a-sa, D., Kenaphoom, S., & Yupas, Y. (2015). The Driven Approach of Good Governance Management in the Era of Capitalism. Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University, 2(3), 130-151.

Raj, M. (1996). Encychopadic of Psychology and Education, Volume 3(M-Z). New Delhi: ANMOL Publications PVT.

Samrit, N. (2015). Perceptions of Functions of Provincial Administration Organization. Local Administration Journal, 8(3), 1-9.

Tuntavanitch, P. (2015). Taxonomy of Education Objectives, Cognitive Domain Based on the Concept of Benjamin's. Bloom: Revision Edition. Lampang Rajabhat University Journal, 3(2), 13-25.