แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคมผสมผสานกับกระบวนการสืบสอบเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ณัฐพร แสนอินทร์
สุรีย์พร สว่างเมฆ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคมผสมผสานกับกระบวนการสืบสอบเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม และ 2. เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน เรื่องชีวิตในสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดประเด็น     ทางวิทยาศาสตร์และสังคมผสมผสานกับกระบวนการสืบสอบ โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 22 คน และใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้   ใน การวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคมผสมผสานกับกระบวนการสืบสอบ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม 2) แบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ 3) ใบกิจกรรม และ 4) แบบประเมินสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน


ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคมผสมผสานกับกระบวนการสืบสอบ มีขั้นตอนสำคัญ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การให้ประเด็นปัญหาทางวิทยาศาสตร์และสังคม ที่ยากต่อการตัดสินใจ 2) การสร้างความคิดเห็นเบื้องต้น ให้นักเรียนจัดกลุ่มปัญหา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับประเด็นปัญหา 3) การตั้งคำถาม การจัดกลุ่มนักเรียนตามปัญหาที่สนใจ การรับบทบาทตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและออกแบบวิธีการสืบค้นและแนวทางการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล 4) การสืบสอบ 5) การอภิปรายผล การวิเคราะห์ผลการสืบค้น 6) การตัดสินใจและการปฏิบัติ การออกแบบแนวทางการจัดทำโครงงานการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา และแนวทางการประเมินนวัตกรรม และ 7) การสะท้อน เป็นการนำเสนอแนวทางการจัดทำโครงงาน และร่วมกันสรุปแนวทางการแก้ปัญหาของห้องเรียน 2. นักเรียนมีระดับสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืนก่อนเรียนอยู่ในระดับเริ่มต้น ระหว่างเรียนและหลังเรียนอยู่ในระดับระดับสามารถ เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบ พบว่า ระดับสมรรถนะในแต่ละองค์ประกอบมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกและในเอกภพก่อนเรียนอยู่ในระดับเริ่มต้น หลังเรียนอยู่ในระดับเหนือความคาดหวัง องค์ประกอบที่ 2 การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์เพื่อการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างยั่งยืนก่อนเรียนอยู่ในระดับกำลังพัฒนา หลังเรียนอยู่ในระดับสามารถ องค์ประกอบที่ 3 การสร้าง ใช้และรู้เท่าทันวิทยาการเทคโนโลยี ก่อนเรียนอยู่ในระดับกำลังพัฒนา หลังเรียนอยู่ในระดับสามารถ และ องค์ประกอบที่ 4 การมีคุณลักษณะทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับการเข้าใจระบบธรรมชาติและการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างเรียนกับหลังเรียนอยู่ในก่อนเรียนอยู่ในระดับเริ่มต้น หลังเรียนอยู่ในระดับสามารถ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amos, R., Knippels, M.-C.P.J., Kyza, E., & Levinson, R. (2018). Science with and for Society. Science and Society December, 100(371), 29.

Ariza, R. M. et al. (2021). Socio-scientific Inquiry-based Learning as a Means toward Environmental Citizenship. Sustainability 2021, 13(20), 1-22.

Birmingham, D., & Calabrese Barton, A. (2014). Putting on a Green Carnival: Youth Taking Educated Action on Socio-scientific Issues. Journal of Research in Science Teaching, 51(3), 286-314.

Environment Office Region 13, Chonburi. (2018). Environmental Pollution Problems, as Well as Good Prevention and Correction Guidelines. Retrieved July 22, 2022, from http://www.mnre.go.th/reo13/th/news/detail

Kijkuakul, S. (2014). Science Learning Management for Teachers in 21st Century. Phetchabun: Junraditkranpim.

Marie-Christine, K. et al. (2017). Science and Society in Education. Retrieved July 3, 2022, from https://www.parrise.eu/wp-content/uploads/2018/04/parrise-en-rgb.pdf

National Institute of Educational Testing Service. (2021). Basic National Education Test Report (O-NET). Retrieved August 22, 2022, from https://www.niets.or.th/th

Nuangchalerm, P. (2015). Guidelines for Learning Science in the 21st Century. Journal of Rangsit University: Teaching and Learning, 9(1), 136-154.

Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. (2021). Sustainable Coexistence with Living in the Harmony of Nature and Science Competency. Retrieved July 22, 2022, from https://cbethailand.com

Rauch, F. (2020). How Socio-scientific Inquiry Based Learning (SSIBL) Promotes Inquiry in Climate Issues. Action Research and Innovation in Science Education, 3(2), 43-45.

Levinson, R. (2018). Introducing Socio-scientific inquiry-based learning (SSIBL). Science and Society December, 100(371), 31-35.

Sitthichok, T. (2016). The Learning Process of Environmental Education in Place of Education. Journal of Humanities and Social Science, Thaksin University, 11, 177-195.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2021). PISA 2018 Assessment Results Reading, Mathematics and Science, Bangkok. Retrieved July 3, 2022, from https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2018-fullreport/

Thongaime, A. (2015). Project Based Learning for Developing Student in the 21st Century. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 8(3), 185-199.