การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูเขียนหลักสูตรรายวิชาชีพระบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพหลักสูตรอาชีวศึกษา

Main Article Content

ศิวาวุธ แสงสวาสดิ์
พิสิฐ เมธาภัทร
วิทวัส ทิพย์สุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูเขียนหลักสูตรรายวิชาชีพ ระบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพหลักสูตรอาชีวศึกษา 2) พัฒนาและประเมินความเหมาะสมรูปแบบการฝึกอบรมครูเขียนหลักสูตรรายวิชาชีพระบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพหลักสูตรอาชีวศึกษาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ได้แก่ ครูผู้สอนของสถานศึกษาอาชีวศึกษาและผู้บริหารของสถานศึกษาอาชีวศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNIModified)


ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัญหาในภาพรวม ของผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาการเขียนหลักสูตรรายวิชาชีพและความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมครูเขียนหลักสูตรรายวิชาชีพ ระบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพหลักสูตรอาชีวศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง และความรู้ทักษะที่ควรจะมีในภาพรวม พบว่า ความรู้ทักษะที่ควรจะมีอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครูเขียนหลักสูตรรายวิชาชีพระบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพหลักสูตรอาชีวศึกษา ประกอบไปด้วย 1) การกำหนดรหัสวิชา 2) การกำหนดชื่อวิชา 3) การกำหนดหน่วยกิต 4) การเขียนจุดประสงค์รายวิชา 5) การเขียนสมรรถนะรายวิชา 6) การเขียนคำอธิบายรายวิชา เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรฯ 2. การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูเขียนหลักสูตรรายวิชาชีพระบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพหลักสูตรอาชีวศึกษา มีดังนี้ 1) ขั้นการวิเคราะห์ความต้องการ 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม 3) การคัดเลือกและออกแบบการฝึกอบรมระบบการจัดการเรียนรู้ 4) การฝึกอบรมระบบการจัดการเรียนรู้ 5) เกณฑ์สำหรับการประเมินผล 6) ประเมินผล 7) ความแม่นตรงของผลที่ได้รับจากการฝึกอบรมระบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Brahmawong, C. (2020). Curriculum Development and Instructional Media. (9th ed.). Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University.

Kerdthawon, P. (2020). Development of Online Lessons Creation Training Course Using LMS Moodle for Students Practicing Teacher Professional Experience in the Faculty of Education, Chaiyaphum Rajabhat University. Journal of MCU Ubon Review, 5(1), 139-148.

Office of the Education Council. (2020). Thailand Education Scheme in Brief (2017-2036). Bangkok: Office of the Education Council.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2021). National Economic and Social Development Plan. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council.

Office of the Vocational Education Commission. (2017).Vocational Education Development Plan 2022. Bangkok: Office of the Vocational Education Commission.

Office of the Vocational Education Commission. (2023). Developing the Curriculum. Bangkok: Office of the Vocational Education Commission.

Taradolrattanakorn, N., & Rampai, N. (2020). Development Model of Online Training by Using Interactive Multimedia Technology Based on Constructivism to Enhance In-service Teacher’s Computer and Technology Competency. NRRU Community Research Journal, 14(3), 247-260.

The Secretariat of The Senate. (2022). Eastern Economic Corridor: EEC. Bangkok: The Secretariat of The Senate.

Tonghom, J., & Sripahol, S. (2017). Develop of Online Curriculum to Enhance Creative Innovation Skills. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 138-156.

Wachirawin, A., Onming, R., Kasemnet, L., & Seekheio, D. (2017). An Efficiency of Online Training Curriculum on How to Apply Web 2.0 in Classroom by Using Online Collaborative Learning Theory to Enhance the Ict competencies of Teachers. Journal of Education: Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 18(1), 182-197.

Wongdaeng, S., & Sethachan, P. (2018). The Development of a Training Curriculum to Enhance the 21st Century Learning Skills for Teacher Student in Rattanakosin Rajabhat University. Social Sciences Research and Academic Journal, 13(37), 75-90.