การสร้างธุรกิจใหม่จากการเปลี่ยนแปลงการบริการด้านสุขภาพ สำหรับศูนย์ดูแลผู้ป่วยในประเทศไทย

Main Article Content

ชนันพร กิตติพิชญางกูร
วิชิต อู่อ้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการบริการด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อการปฏิรูปธุรกิจในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการบริการด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อการเกิดธุรกิจใหม่ด้านสุขภาพสำหรับศูนย์ดูแลผู้ป่วยในประเทศไทย และ 3) เพื่อสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงการบริการด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อศูนย์ดูแลผู้ป่วยในประเทศไทย จังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสาน ประชากรคือ กลุ่มธุรกิจศูนย์ดูแลผู้ป่วย ใช้กลุ่มตัวอย่างขนาด 400 ตัวอย่าง โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ซึ่งอาศัยความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่คาดการณ์ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อการสร้างธุรกิจใหม่ด้านสุขภาพสำหรับศูนย์ดูแลผู้ป่วย โดยวิเคราะห์ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละของความคิดเห็น ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์


จากการศึกษาพบว่า 1) การเปลี่ยนแปลงการบริการด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อการปฏิรูปธุรกิจในประเทศไทย พบว่า มีประเด็นที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย 1.1) การบริหารจัดการ 1.2) การเปลี่ยนแปลง 1.3) โครงสร้างพื้นฐาน 1.4) สังคม 1.5) เศรษฐกิจ และ 1.6) ผู้เข้ารับบริการ ซึ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงการบริการด้านสุขภาพ มีอิทธิพลต่อการเกิดธุรกิจใหม่ด้านสุขภาพสำหรับศูนย์ดูแลผู้ป่วยในประเทศไทย 2) การเปลี่ยนแปลงการบริการด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อการเกิดธุรกิจใหม่ด้านสุขภาพสำหรับศูนย์ดูแลผู้ป่วยในประเทศไทย พบว่า ด้านผู้ให้บริการมีผลต่อการตัดสินใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.06) เมื่อพิจารณาพบว่า มีระดับความคิดเห็นที่มีผลต่อการตัดสินใจด้านผู้ให้บริการที่ระดับมากทุกด้านเรียงลำดับได้ ดังนี้ ความสุภาพ อ่อนโยนของผู้ให้บริการ (gif.latex?\bar{x} = 4.10) และความเป็นมืออาชีพในการให้บริการ (gif.latex?\bar{x} = 4.03) 3) แบบจำลองความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงการบริการด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อศูนย์ดูแลผู้ป่วยในจังหวัดกรุงเทพและปริมณฑล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Abbey, J. D. et al. (2015). Remanufactured Products in Closed-loop Supply Chains for Consumer Goods. Production and Operations Management, 24(3), 488-503.

Al-Debei, M. M., & Avison, D. (2010). Developing a Unified Framework of the Business Model Concept. European Journal of Information Systems, 19(3), 359-376.

Anderson, L. et al. (2013). Transformative Service Research: An Agenda for the Future. Journal of Business Research, 66(8), 1203-1210.

Andreasen, R. (1984). Life Status Changes and Changes in Consumer Preferences and Satisfaction. Journal of Consumer Research, 11(3), 275-287.

Antonetti, P., & Maklan, S. (2014). Feelings that Make a Difference: How Guilt and Pride Convince Consumers of the Effectiveness of Sustainable Consumption Choices. Journal of Business Ethics, 124(1), 117-134.

Atkinson, W. (2008). Not All that Was Solid Has Melted into Air (or Liquid): A Critique of Bauman on Individualization and Class in Liquid Modernity. Sociological Review, 56(1), 1-17.

Azarenko, A. et al. (2009). Technical Product-service Systems: Some Implications for the Machine Tool Industry. Journal of Manufacturing Technology Management, 20(5), 700-722.

Bardhi, F., & Eckhart, G. M. (2017). Liquid Consumption. Journal of Consumer Research, 44(3), 582-597.

Barrick, M. R., & Mount, M. K. (1991). The Big Five Personality Dimensions and Job Performance: A Meta- Analysis. Personnel Psychology, 44(1), 1-26.

Bilandzic, H., Kalch, A., & Soentgen, J. (2017). Effects of Goal Framing and Emotions on Perceived Threat and Willingness to Sacrifice for Climate Change. Science Communication, 39(4), 466-491.

Block, L., & Keller, P. (1995). When to Accentuate the Negative: The Effects of Perceived Efficacy and Message Framing on Intentions to Perform Health-related Behaviors. Journal of Marketing Research, 32(2), 192-203.

Dholakia, U., Tam, L., Yoon, S., & Wong, N. (2016). The Ant and the Grasshopper: Understanding Personal Saving Orientation of Consumers. Journal of Consumer Research, 43(1), 134-155.

Fischer, E., Otnes, C., & Tuncay, L. (2007). Pursuing Parenthood: Integrating Cultural and Cognitive Perspectives on Persistent Goal Striving. Journal of Consumer Research, 34(4), 435-440.