แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรการศึกษาของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน ปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการเตรียมความพร้อม ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข 2) เสนอแผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรการศึกษาของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิขององค์กรการศึกษาชุมชนที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ ทั้งหมด 11 ชุมชน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามวัตถุประสงค์ ใช้วิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ศักยภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งแผนกลยุทธ์ด้วย SWOT Analysis เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการเตรียมความพร้อมขององค์กรการศึกษาของชุมชน ในภาพรวมดำเนินงานในระดับปานกลาง โดยจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนและเพิ่มบุคลากรทางการศึกษามีการดำเนินงานในระดับมากที่สุด ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ ระบบการจัดการ บุคลากร และงบประมาณ ส่วนแนวทางแก้ไข ได้แก่ ปรับปรุงคุณภาพสถานศึกษา นักเรียน บุคลากร และงบประมาณ 2) แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรการศึกษาของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน จำนวน 4 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์พลิกฟื้น กลยุทธ์ตัดทอน กลยุทธ์เชิงรุก และกลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Boonbongkarn, C., & Khechornnan, N. (2003). Strategic Management. Bangkok: SE-Education.
Bryson, J. M. (1995). Strategic Planning for Public and Nonprofit Organization: A Guide to Strengthening Organization Achievement. San Francisco: Jossey-Bass Publishers.
Center for Ethnic Studies and Development Faculty of Social Sciences Chiang Mai University. (2013). Ethnic Network. Retrieved October 13, 2016, from www.cesd.soc.cmu.ac.th
Humphrey, A. S. (2005). SWOT Analysis. Long Range Planning, 30(1), 46-52.
Hutanuwat, N., & Hutanuwat, N. (2002). SWOT the Strategic Planning of Local Business. Ubon Ratchathani: The Institute for Local Business Development, Faculty of Agriculture, Ubon Ratchathani University.
Moon-ngamkoon, T. et al. (2013). ASEAN Readiness and Development of Sub-district Administrative Organizations in the Central Part. EAU Heritage Journal Social Science and Humanities, 3(2), 11-12.
Nuansi, W. (2013). Preparedness of Local Administrative Organization to Support AEC: A Case Study of Local Administrative Organization in Sadao District, Songkhla Province. Journal of Southern Technology, 6(2), 27-34.
Nuibaandan, P. (2000). Organization of Learning. Journal of Nursing Education, 10(3), 13-17.
Pakapaswiwat, S. (2000). Strategic Management. (5th ed.). Bangkok: Amarin Printing House.
Panich, W. (2012). How to Develop Better Competencies than Training. Retrieved October 5, 2016, from https://www.gotoknow.org/posts/498065
Panprasit, S. (2013). Preparing of the Readiness of Thai Secondary School in Response ASEAN Community. Bangkok: Dhurakij Pundit University Press.
Ramasoot, N., & Rohitsatian, B. (2013). Lectures on the Impact of AEC on Thai Education. The Minister of Education (Thailand). Retrieved October 10, 2016, from http://www.moe.go.th
The National Economic and Social Development Board (NESDB). (2013). The Strategy of Entering the ASEAN Community in 2015. Retrieved October 13, 2016, from http://asean.bangkok.go.th/index.php
Tissamana, A. et al. (2014). Preparing of Bangkok Metropolitan Administration Forward to ASEAN Community: Social and Cultural Perspectives in the Issue of Human Development. Journal of Politics and Governance, 4(2), 1-2.
Uttalert, V. (2012). Readiness Preparation of the Local Government towards Asean Community: A Case Study of Ban Yaeng Municipality, Nakhonthai District, Phitsanulok Province. (Master’s Thesis). Khonkaen University. Khonkaen.
Vanichbuncha, K. (2002). Statistical Analysis: Statistic for Decision. (5th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.