สะเปา: จากศรัทธาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำวัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอประเพณีล่องสะเปาวัฒนธรรมในลุ่มแม่น้ำวังที่มีความเชื่อ ความศรัทธา กลายมาเป็นกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่มีลักษณะการจัดกิจกรรมคล้ายๆ กับประเพณีลอยกระทง โดยมีลักษณะเป็นการนำเรือสำเภาไปลอยในแม่น้ำ ซึ่งเป็นการขอขมาต่อแม่น้ำคงคา และอธิษฐานให้หมดทุกข์หมดโศก โรคภัยต่างๆ อีกทั้ง ตลอดจนหนุ่มสาวที่ต้องการจะร่วมชีวิตกันจะอธิษฐานเรื่องความรักสุขสมหวัง หรืออธิษฐานที่ตนปรารถนา จนกลายมาเป็นประเพณีที่หน่วยงานจังหวัดลำปางและคนในพื้นที่จังหวัดลำปาง ร่วมกันขับเคลื่อนผ่านนโยบายของจังหวัดจนนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่จนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเน้นส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน อีกทั้งได้การสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการสร้างรายได้ ตามโครงการ “เมืองต้องห้าม…พลาด” ภายใต้แนวคิดปีท่องเที่ยววิถีไทย ซึ่งจังหวัดลำปางได้ถูกจัดให้เป็นเมืองท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาท่องเที่ยวและเปิดประสบการณ์ใหม่ภายใต้ “เมือง…ที่ไม่หมุนตามกาลเวลา” ซึ่งถือเป็นเสน่ห์ของจังหวัดลำปาง ฉะนั้นประเพณีการล่องสะเปาจาวเวียงละกอนจึงเป็นการสร้างมูลค่าของสินค้าและบริการที่เกิดจากภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์บนพื้นฐานขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chaimuangchuen, P. (2014). Long Sapao: Traces of Traditions in the Past. Lampang: A Century Ago.
Inprom, K. (2022). Long Sapao Tradition. Lampang: Lecturer in Social Studies General Department Lampang Technical College.
Integrated Provincial Executive Committee, Lampang Province Lampang Provincial Office Strategic and Information Group for Development of Lampang Province. (2018). Lampang 5-Year Development Plan (2018-2022). Review Edition 2021. Retrieved on December 31, 2022, from https://www.lampang.go.th/strategy/2563/img61_65-r2.pdf
Lampang Municipality. (2022). Road of Sapao. Retrieved December 31, 2022, from https://web.facebook.com/274768539314371/photos
Lampang Provincial Cultural Office. (2018). Long Sapao Chao Lakon Festival 2018. Retrieved December 5, 2022, from https://www.m-culture.go.th/lampang/ewt_news.php?nid= 1937&filename=index
Lampang Provincial Cultural Office. (2022). Long Sa Pao or Loi Krathong. Retrieved December 5, 2022, from https://www.m-culture.go.th/lampang/ewt_news.php?nid=2164&file name=index.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
Nilkan, L. (2018). Belief Culture and Community Faith Management. Narkbhutparitat Journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, 10(2), 11-20.
Office of the Promotion of Arts and Culture Chiang Mai University. (2022). Religion and Beliefs of the Lanna People. Retrieved December 31, 2022, from http://art-culture.cmu.ac.th/ lanna/articleDetail/857
Payomyong, M. (1986). Thai Lanna Tradition Volume 1. Chiang Mai: Sor Subpim.
Phra Brahmagunaporn (P.A. Payutto). (2010). Thammanoon Life. (12th ed.). Bangkok: Sahathamik.
Travel Around the World Travel. (2023). The Only Land Heritage in Thailand. Retrieved December 31, 2022, from https://www.travelaroundtheworld-mag.com/update/lampangculture/