แนวทางการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานแนวคิดเชิงคำนวณ เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

เนตรชนก แก้วดี
ชรินทร์ มั่งคั่ง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานแนวคิดเชิงคำนวณเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อเสนอแนวการจัดนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานแนวคิดเชิงคำนวณเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลผ่านการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 3 ท่าน และครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 2 ท่าน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย


ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานแนวคิดเชิงคำนวณ เป็นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างวิชา โดยเป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้แนวทางหาคำตอบ        อย่างเป็นขั้นตอนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยบุคคลหรือคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง การคิดเชิงคำนวณจึงเป็นกระบวนการแก้ปัญหาในหลากหลายลักษณะ รวมทั้งการย่อยปัญหาที่ช่วยให้รับมือกับปัญหาที่ซับซ้อนหรือมีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิดได้วิธีคิดเชิงคำนวณ จะช่วยทำให้ปัญหาที่ซับซ้อนเข้าใจได้ง่ายขึ้นเป็นทักษะที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อทุกๆ สาขาวิชา และทุกเรื่องในชีวิตประจำวันซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการคิดให้เหมือนคอมพิวเตอร์แต่เป็นกระบวนการคิดแก้ปัญหาของมนุษย์ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานและช่วยแก้ปัญหาตามที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) แนวการจัดนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานแนวคิดเชิงคำนวณเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีดังนี้ 2.1) ด้านการเตรียมความพร้อมทักษะของครูผู้สอน ครูควรเตรียมตัวและศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เนื่องจาก  เป็นความรู้ใหม่ 2.2) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ควรบูรณาการกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพื้นฐานความแตกต่างทางการเงินส่วนบุคคลและการใช้สถานการณ์จำลอง 2.3) ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้   ใช้สื่อที่หลากหลาย มีการประยุกต์ใช้แอปพลิเคชัน 2.4) ด้านการวัดและประเมินผลสมรรถนะ ใช้การประเมินตามสภาพจริงเป็นรายบุคคล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Apisuksakul, K., Tulmethakan, M., & Suwathanpornkul, L. (2022). The Scope Analysis of Financial Literacy for High School Students. Journal Social Science and Buddhistic Anthropology, 7(2), 241-257.

Boonmee, W. (2021). Teaching Materials and Learning in the 21st Century. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(9), 373-386.

Buathong, S. (2017). Measurement and Assessment of Learning Skills in the 21st Century. Veridian E- Journal, Silpakorn University, 10(2), 1856-1867.

Fakkhaw. (2015). 21st Century Skills. Retrieved January 22, 2022, https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=Mjc2NTQx

Holtsch, D., & Eberle, F. (2016). Teachers’ Financial Literacy from a Swiss Perspective. In Carmen, A., Eveline, W., Klaus, B., Noi Keng, K., Davies, Peter, D., Bettina, G.F., & Lopus, J. S. (Eds.), International Handbook of Financial Literacy (pp. 697-713). Singapore: Springer.

Khumjan, S. (2020). The Development of Learning Management Model for Enhancing the Productive Learning Competency of Economics of Grade 9 Students. (Master’s Thesis). Valaya Alongkorn Rajabhat University. Pathum Thani.

Laohajaratsang, T. (2016). Teacher. Retrieved January 22, 2022, from http://thanompo.edu.cmu.ac.th/load/journal/50-51/Cteachers.pdf

Mangkhang, C. (2022). Teaching Futurology for Social Studies Teachers. Chiangmai: Lanaprinting.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2022). The Thirteenth Plan.

Retrieved December 12, 2022, from https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=intro

Office of the Royal Society. (2021). Dictionary of Educational Terms. Bangkok: Tanapress.

Pakdeejit, Y. (2019). Documents for Academic Discussion: Academic Promotion Day for the Quality of Teaching and Learning. Retrieved January 22, 2022, from http://apr.nsru.ac.th/Actlearn/myfile/27022015155130article.docx

Rueangrong, P., & Phitthayasenee, M. (2021). Computational Concept is Combined with the Coding Learning Management Model to Enhance Collaborative Problem-Solving Skills. Journal of Graduate Studies in Northern Rajabhat Universities, 11(1), 1-16.

Sabkerd, A. (2016). Development of Learning Activities to Enhance Computational Thinking with Focus on STEM Education Learning Management of the Programming and Application Course for Mathayomsueksa IV Students of Anukoolnaree School. (Master’s Thesis). Rajabhat Mahasarakham University. Mahasarakham.

Supa, A. (2019). The Relationship between Financial Literacy Competencies and Saving Type Selection: A Case Study of Customers of Krungthai Bank, Central Airport Chiangmai Branch. (Master’s Thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai.

Thongphuak, P. (2019). Effects of Economics Instruction by Using Simulation Games on Financial Literacy of Upper Secondary School Students. Silpakorn Education Research Journal, 11(1), 348-365.

Wannathong, N. (2022). Computational Thinking. Retrieved January 22, 2022, from https://www.krunapaporn.org

Wing, J. M. (2016). Computational Thinking and Thinking About Computing. Retrieved January 22, 2022, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2696102/