กระบวนการเรียนรู้สังคมศึกษาด้วยวิธีการรอยเท้าทางดิจิทัลเชิงบวก เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

สุวสิรินทร์ สุวรรณจักร์
ชรินทร์ มั่งคั่ง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้สังคมศึกษาด้วยวิธีการรอยเท้าทางดิจิทัลเชิงบวก เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อเสนอแนวการจัดกระบวนการเรียนรู้สังคมศึกษาด้วยวิธีการรอยเท้าทางดิจิทัลเชิงบวก เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ คณาจารย์และครูผู้สอนสังคมศึกษา จำนวน 15 คน และ 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญประเมินแนวการจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ คณาจารย์และครูผู้สอนสังคมศึกษา จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 24 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบประเมินแนวการจัดนวัตกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนรู้สังคมศึกษาด้วยวิธีการรอยเท้าทางดิจิทัลเชิงบวก เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลวิจารณญาณนั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อการคิดค้น ปรับ ประยุกต์ใช้วิธีการรอยเท้าทางดิจิทัลผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างสรรค์การกระบวนการคิดใหม่ โดยใช้ร่อยรอยการกระทำที่ปรากฏในพื้นที่เครือข่ายสังคมดิจิทัลสู่ทิศทางที่ดีอย่างมีเหตุและผลผ่านพฤติกรรมที่แสดงออกในเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม รวมทั้งรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองผ่านหลักความสามารถในการจัดการอารมณ์ การตอบสนองและการแสดงออกในโลกดิจิทัล ซึ่งนำไปสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลวิจารณญาณ (Critical Digital literacy) 2) แนวการจัดกระบวนการเรียนรู้สังคมศึกษาด้วยวิธีการรอยเท้าทางดิจิทัลเชิงบวก เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลวิจารณญาณที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเรียกว่า TRS-2New Model มีขั้นตอน ได้แก่ 2.1) ตรวจสอบ (Test) 2.2) เข้าใจ (Realize) 2.3) สถานการณ์เชิงบวก (Positive Situation) 2.4) การสร้างอัตลักษณ์ใหม่ (New Identity) 2.5) การสร้างทางเลือกใหม่ (New Creation) ซึ่งมีผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buvhana, R. et al. (2018). Expert Insights into Education for Positive Digital Footprint Development. University of Newcastle, 37(2), 1-13.

Chusaengnil, C. (2019). Digital Intelligence. Retrieved December 25, 2022, from https://www.scimath.org/article-technology/item/10611-digital-intelligence

Cordell, R. M. (2013). Information Literacy and Digital Literacy: Competing or Complementary. Communication in Information Literacy, 7(2), 177-183.

Hinrichsen, J., & Coombs, A. (2013). the Five Resources of Critical Digital Literacy: A Framework for Curriculum Integration. Research in Learning Technology, 21(1), 1-16.

Institute for Population and Social Research Mahidol University (2020). Thai Health 2020: Two Decades of Thai Education Reform Failures and Successes. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Inthanon, S. (2020). Cyber Security. Pathum Thani: Walk on Cloud Company Limited.

Inthanon, S. (2020). DQ Digital Intelligence. Pathum Thani: Walk on Cloud Company Limited.

Kaewsringam, N. (2004). Positive Thinking You Should Think that Every Problem Has a Solution Not Every Way Out Is the Problem. Journal of the Teacher Circle, 1(12), 76-78.

Khamcharoen, P., & Ponnikornkit, W. (2018). Children and Digital Literacy. Journal of Social Communication Innovation, 6(2), 22-31.

Leenarach, P. (2017). Digital Literacy Skill for Developing Learning Quality. T.L.A. Bulletin, 61(2), 76-92.

Mangkhang, C. (2022). Concepts in Action the Social Studies Curriculum Development. Chiang Mai: Lanna Printing.

Mangkhang, C., & Kaewpanya, N. (2021). the Digital Etiquette Enhancing to Global Citizenship of Social Studies Teachers in a New Normal Society. Higher Education Studies, 11(3), 89-94.

Mavridi, S. (2017). Creating a Positive Digital Footprint. Retrieved December 25, 2022, from https://thedigitateacher.com/assets/training/lesson-plan-creating-a-positive-digital-footprint.pdf

Nak-in, N. et al. (2021). 8 Skills “Digital Intelligence Quotient” of Students in the Teaching Profession to Citizenship 4.0. Graduate School Journal Chiang Rai Rajabhat University, 14(1), 1-11.

Nordin, M. S. et al. (2016). Psychometric Properties of a Digital Citizenship Questionnaire. International Education Studies, 9(3), 71-80.

Phoodee, W., & Pianpailoon, C. (2021). the Scenario of Teachers after the Covid-19 Crisis. Panyapiwat Journal, 13(2), 321-330.

Pupokham, M., & Mangkhang, C. (2021). Innovation of Integrated Economics Learning Management for Secondary School Students. Journal of MCU Peace Studies, 10(6), 2555-2565.

Ribble, M. (2015). Digital Citizenship in Schools: Nine Elements all Students Should Know. Journal of Leadership, 7(3), 272-281.

Suphannophap, P. (2018). Positive Thinking: Life Development Variable. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 1958-1987.

Tengku Siti Meriam Tengku Wook et al. (2019). Awareness of Digital Footprint Management in the New Media Amongst Youth. Journal Komunikasi, 35(3), 407-421.

The Coordination Center Drives the Promotion and Protection of Children and Youth in the Use of Online Media. (2019). Survey Report on the Situation of Children and Online Threats 2019. Bangkok: Child and Family Welfare Division.

The open University. (2020). Developing a Good Digital Footprint. Retrieved December 25, 2022, from https://www.open.ac.uk/libraryservices/beingdigital/accessible/accessible-pdf-62-developing-a-good-digital-footprint.pdf

Wannapaisan, C. (2019). Social Studies Research Tools. Chiang Mai: Research Administration Center Chiang Mai University.

White, S., Ragkhanto, S., & Srikhruedong, S. (2021). Human: Digital Citizenship. Journal of MCU Humanities Review, 7(2), 339-354.